แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
dot dot
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
แนะเคล็ดลับ ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“บ้าน” คือ ศูนย์รวมความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้าน และหากว่าบ้านมีการจัดฮวงจุ้ยที่ดี จะยิ่งเสริมให้ผู้อยู่ร่ำรวยมั่งมีได้อีกด้วย หมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา หมอดูคนดัง แนะไอเดียปรับฮวงจุ้ยบ้านให้รับทรัพย์ ด้วยวิธีที่ทุกคนทำตามได้ไว้อย่างน่าสนใจ ในงาน “SCG HOME & Living Fair” งานแฟร์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีสำหรับคนรักบ้าน ซึ่งจัดขึ้นที่ เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ โครงการ CDC เลียบด่วนรามอินทรา

“ฮวงจุ้ย หรือในภาษาจีนกลางคือ Feng Shui (เฟิงสุ่ย) มาจากคำสองคำคือ ‘เฟิง’ แปลว่า ‘ลม’ และ ‘สุ่ย’ แปลว่า ‘น้ำ’ ดังนั้น ทฤษฎีของฮวงจุ้ยที่ดี จึงว่ากันด้วยทิศทางการหมุนเวียนของลมและการไหลเวียนของน้ำนั่นเอง

ลม ของฮวงจุ้ยจะพัดพาพลังชี่ (Shi) เข้ามาภายในบ้าน ฉะนั้น การจัดฮวงจุ้ยก็คือ การจัดพลังชี่ในบ้านให้ลมเกิดการหมุนเวียนในทิศทางที่ดีตามองศาของประตูและหน้าต่าง ถ้าจัดฮวงจุ้ยได้ถูกต้อง ตามตำราบอกว่า อยู่ 1 ปีก็รวย 10 เท่า ในทางกลับกันถ้าพลังชี่ไม่ดี อยู่ 1 ปีก็อาจจะจน 10 เท่าก็เป็นได้ สิ่งที่ต้องระวังเวลาจัดฮวงจุ้ยบ้านคือ มุมของทางสามแพร่ง หรือเหลี่ยมของเสาหน้าบ้าน ห้ามมีมุมแหลมๆ พุ่งเข้ามาในบ้านเด็ดขาด และต้องระวังประตูที่เปิดเข้าตัวบ้าน (ไม่ใช่ประตูรั้ว เพราะประตูรั้วมีผลกับฮวงจุ้ยน้อยมาก) แนะนำว่าในวันที่อากาศดี ควรเปิดประตูตัวบ้านทิ้งไว้ให้ลมหมุนเวียนเข้ามา หรือเปิดหน้าต่างให้แสงแดดเข้ามาก็จะได้รับพลังชี่ที่ดี บ้านไหนที่มีประตูเข้าบ้าน 2 ประตู ควรใช้ประตูหลักที่ใหญ่กว่าให้บ่อย ๆ เพราะตามหลักฮวงจุ้ยแล้วถือว่าประตูใหญ่เป็นทางเข้าของมังกร หากทางสามแพร่งหรือเสาไฟฟ้าเกิดอยู่ตรงกับประตูหลักที่เข้าตัวบ้าน อันนี้ ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี เพราะทำให้พลังชี่เข้ามาได้น้อย สามารถแก้ไขได้โดยนำต้นไม้ขนาดเล็กที่กำลังนิยมมาตั้งไว้ หรืออาจแขวนโมบายที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง ก็จะช่วยลดพลังที่ไม่ดีลงได้ ส่วน เลขที่บ้าน นั้น ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว เลขที่บ้านมีผลต่อฮวงจุ้ยน้อยมาก การจัดฮวงจุ้ยนั้นเป็นศาสตร์ที่ต้องควบคุมพลังชี่ที่อยู่รอบตัวเราเป็นหลัก ฉะนั้นสิ่งที่ทุกคนต้องทำก็คือ จัดการกับพลังชี่ในบ้านของเราให้ได้ก่อน

บ้านที่มีประตูหน้าบ้านตรงกับประตูหลังบ้าน

อันนี้ไม่ดี เพราะเมื่อพลังชี่เข้ามาในบ้านมันก็จะพุ่งออกไปเลย จึงเป็นบ้านที่เก็บเงินไม่ได้ แม้หาเงินได้เยอะ นั่นคือ พลังชี่อาจจะเข้ามาเยอะ แต่มันพุ่งออกไปเร็วมาก เปรียบดั่งหาเงินได้ แต่รายจ่ายก็เยอะ วิธีแก้คือ หาตู้โชว์ พาร์ทิชั่น หรือเฟอร์นิเจอร์ มาตั้งตรงกลางระหว่างประตูหน้าและประตูหลัง เมื่อพลังชี่เข้ามาก็จะถูกกักให้หมุน เวียนอยู่ในบ้าน ประตูเข้าตัวบ้านต้องเปิด-ปิดง่าย ปิดแล้วเสียงต้องไม่ดัง จะทำให้มีโชคลาภเงินทองไหลเข้ามา

ห้องนั่งเล่น (Living Room)

ห้องนั่งเล่นถ้าใช้งานบ่อยพลังงานที่ดีก็จะเข้ามาในบ้าน พูดง่ายๆ ว่าบ้านเปรียบเสมือนอวัยวะในร่างกาย ฉะนั้น ถ้ามีห้องไหนที่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ก็เหมือนเราไม่ได้ขยับอวัยะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเลย พลังชี่จะไม่เข้ามา สิ่งที่อยากให้มีในห้องนั่งเล่น ถ้าชอบของมงคลแนวจีน แนะนำให้ตั้งรูปปั้นฮกลกซิ่ว จะช่วยให้พบกับความสำเร็จ 3 ประการคือ ครอบครัวดี หน้าที่การงานดี และสุขภาพดี แต่หากชอบของแต่งบ้านสมัยใหม่ ให้เลือกโคมไฟคริสตัล หรือคริสตัลสวย ๆ ตั้งในตู้โชว์ เพราะจะช่วยกระจายพลังชี่ได้ อีกอย่างที่ห้องนั่งเล่นไม่ควรมีคือ โต๊ะสำหรับทานข้าว

ห้องครัวคือหัวใจของบ้าน

ครัวคือโชคชะตาของผู้หญิงในบ้าน ถ้าครัวทรุดผู้หญิงที่อยู่ในบ้านจะมีปัญหาสุขภาพ ถ้าหลังคาครัวรั่วหมายถึงทรัพย์รั่ว ถ้าพื้นครัวมีโพรง ผู้หญิงบ้านนี้จะเจ็บป่วยได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ตำแหน่งของเตาไฟ คนจีนเชื่อว่าเตาไฟเป็นตัวแทนของหญิงผู้ให้กำเนิด จึงห้ามตั้งเตาไฟในทิศตรงข้ามกับอ่างล้างจาน หรือไม่ควรตั้งเตาไฟติดกับอ่างล้านจาน และ ห้ามตั้งเตาไฟโดยใช้ผนังร่วมกับห้องน้ำ เพราะจะทำให้ผู้หญิงในบ้านป่วย แถมโชคลาภก็จะไม่เข้ามาในบ้านด้วย หากมีเตาไฟในบ้านควรใช้บ่อย ๆ เพื่อหมุนเวียนพลังหยาง (ความร้อน) ซึ่งจะต้องบาลานซ์กับพลังหยิน (ความเย็น) ของน้ำในบ้านที่มีการเคลื่อน ไหวด้วย

ห้องนอนก็สำคัญเช่นกัน

ห้องนอนที่เก็บของเยอะเกินไปจนดูรก ก็เหมือนเป็นการสะสมพลังลบไว้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ควรมีของให้น้อยที่สุด ข้อควรระวังอีกอย่าง อย่าให้ประตูห้องน้ำเปิดมาแล้วเจอเตียงเลย เพราะจะทำให้ป่วย สำหรับหัวเตียงไม่จำเป็นต้องหันไปทางทิศตะวันออกเสมอไป ถ้าในห้องนอนมีกระจก ไม่ควรให้กระจกหันหรือสะท้อนมาที่เตียงนอน เพราะจะสะท้อนพลังดี ๆ ออกไปหมด และถ้าห้องอยู่ชั้นล่างของบ้าน ห้ามนอนหันปลายเท้าไปทางประตูเข้าตัวบ้าน เพราะจะเหมือนการหามคนเจ็บคนตาย

ฮวงจุ้ยของบ้านที่ดีควรมีองค์ประกอบครบทั้ง 5 ธาตุ ดังนี้

‘ธาตุน้ำ’ ในบ้านควรมีสีฟ้า สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นตัวแทนของธาตุน้ำ หรือตั้งน้ำพุเล็ก ๆ ที่มีความเคลื่อนไหว ก็จะช่วยเสริมฮวงจุ้ยที่ดี

‘ธาตุไม้’ ควรหาต้นไม้ประดับเล็ก ๆ ที่มีใบสีเขียวมาไว้ในบ้าน หรือ หากบ้านไหนมีพื้นบ้านที่เป็นพื้นไม้ก็ถือว่าใช้ได้

‘ธาตุไฟ’ สีส้ม สีแดง และสีชมพู คือตัวแทนของธาตุไฟ อาจจะใช้หมอนอิง โคมไฟ หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่มีสีเหล่านี้มาประดับไว้

‘ธาตุดิน’ อาจเลือกใช้พรมเช็ดเท้าที่มีสีน้ำตาล หรือสิ่งของที่อยู่ในหมวดสีเอิร์ธโทนนำมาตกแต่งในบ้านก็ช่วยเสริมธาตุดินได้

‘ธาตุโลหะ’ อาจเป็นสิ่งของที่ทำจากโลหะทั้งหลาย เช่น โต๊ะที่มีขาสเตนเลส หรือแจกันสีทองแววาวก็ได้

ถ้าบ้านไหนมีสิ่งของหรือการตกแต่งครบทั้ง 5 ธาตุแล้ว ก็ถือว่าบ้านนั้นมีฮวงจุ้ยที่ดีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเสริมฮวงจุ้ยด้านอื่น ๆ ก็ได้

จัดทำโดย บริษัท เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ จำกัด

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่
คลายข้อสงสัย?? หน้ากากผ้าทั่วไปสามารถป้องกันไวรัส COVID-19 ได้หรือไม่
5 เทคนิคท่องเที่ยวฉบับมือโปรรับยุคใหม่แบบ New Normal





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3