เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
dot dot
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
 

เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

 
 

ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ทำให้เริ่มมีความกังวลว่าการระบาดระลอกนี้ จะมีความรุนแรงแค่ไหน แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรับรองแน่ชัด แต่ในหลักการแล้ววัคซีนชนิด mRNA ยังคงเป็นความหวังในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

 
 

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ข้อดีของวัคซีนชนิด mRNA คือ สามารถปรับสูตรได้อย่างรวดเร็ว  เพราะทันทีที่เราทราบรหัสพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ก็จะผลิตวัคซีนต้นแบบได้ทันที  แต่กระนั้นวัคซีนต้นแบบชนิดใหม่ๆ ยังคงต้องผ่านกระบวนการทดสอบทั้งในด้านประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งต้องใช้เวลายืนยันความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ได้ ก่อนจะได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้นำมาใช้จริง 

 
 

การที่วัคซีนชนิด mRNA สามารถปรับสูตรวัคซีนได้อย่างรวดเร็วนั้น ศ.นพ.มานพ อธิบายง่ายๆ ว่า การให้วัคซีน คือการสอนให้ร่างกายของเรารู้จักเชื้อโรค เพื่อให้กระบวนการป้องกันตามธรรมชาติทำงานได้ดีขึ้น  การผลิตวัคซีนชนิด mRNA จึงใช้วิธีการแนะนำให้ร่างกายรู้จักโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 โดยใช้ mRNA ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่สามารถสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนหนามตามที่ต้องการได้ เมื่อนำแม่พิมพ์ mRNA ในการสร้างโปรตีนหนามของไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย เซลล์ของร่างกายเราจึงสร้างโปรตีนหนามให้ร่างกายรับรู้ เมื่อร่างกายรู้จักโปรตีนหนามของไวรัสนี้แล้ว จะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามขึ้น  หลังจากนี้เมื่อได้รับเชื้อจริง ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้เองเพื่อต่อต้านการโจมตีของเชื้อ

 
 

ในขณะนี้ บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต่างก็กำลังค้นคว้าอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะได้รู้จักและเข้าใจเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนวัคซีนโควิด-19 ที่ทันต่อการกลายพันธุ์  เช่น บริษัทโมเดอร์น่ากำลังดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ของวัคซีนโมเดอร์น่าทั้ง 3 สูตร ได้แก่ 1) วัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ในขนาด 100 ไมโครกรัม 2) วัคซีนสูตรผสมที่รวมสายพันธุ์เบต้าและเดลต้า ซึ่งมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งเหมือนกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน และ 3) จะเร่งดำเนินการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 สูตรใหม่ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

 

#ไม่พลาด_คลิบ_ข่าวสาร_และความบันเทิง ได้ทุกช่องทาง

เว็บไซต์ รวมคลิบ ข่าวสารและความบันเทิง

http://www.intvthai.com

ช่องยูทูป INTV Thai รวมคลิบข่าวสาร ความบันเทิง

https://www.youtube.com/channel/UCpngK3GfIscX1MQrq_VUWeg...

FB Fanpage : ตลาดวิเคราะห์ news รวมข่าวสารและความบันเทิง

https://www.facebook.com/taladvikraonews

FB Fanpage : INTV Channel รวมคลิบข่าวสารและความบันเทิง

https://www.facebook.com/intvchannelonline

FB Fanpage : ส่องข่าวนอก by Taladvikrao

https://www.facebook.com/upcountrynewsbytaladvikrao

 

 

ในระหว่างที่ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนยังไม่แพร่กระจายมากจนเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า เบต้า และเดลต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยขณะนี้  วัคซีนชนิด mRNA ทั้งสองยี่ห้อที่มีอยู่ในประเทศไทยยังคงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี  แม้จะใช้หลักการและเทคโนโลยีเดียวกันในการผลิต วัคซีนทั้งสองยี่ห้อก็มีส่วนปลีกย่อยที่ส่งผลให้มีประสิทธิผลที่แตกต่างกัน  

สิ่งที่ทำให้ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างกันนั้น ศ.นพ.มานพอธิบายว่า ข้อแรก คือ ตัวห่อหุ้ม หรือ Lipid nanoparticles ที่ใช้หุ้ม mRNA เพื่อป้องกันไม่ให้สลายตัวก่อนฉีดเข้าไปในร่างกาย ที่วัคซีนแต่ละยี่ห้อใช้นั้นไม่เหมือนกัน  ส่วนข้อสอง ซึ่งมีความสำคัญมาก คือ ปริมาณ mRNA ในวัคซีนที่ต่างกัน ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมนี้ได้จากการศึกษาในอาสาสมัครที่พบว่ามีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และไม่มีผลข้างเคียงมากเกินไป ก่อนนำมาศึกษาทางคลินิกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเทียบกับยาหลอก แล้วจึงนำมาใช้จริง 

จากผลการศึกษาทางคลินิกเฟสสาม วัคซีนชนิด mRNA ทั้งสองยี่ห้อมีประสิทธิภาพสูงเกิน 95%  ในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดิมโดยผลการติดตามการใช้จริงในประเทศกาตาร์เมื่อต้นปี 2564 แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มแรกต่อเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่าสูงถึง 88.1% และถ้าได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มจะได้สูงถึง 100% ในขณะที่ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อต่อเชื้อสายพันธุ์เบต้า สูงถึง 96.4% เมื่อได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 

การศึกษาเปรียบเทียบวัคซีนทั้งสองชนิดในรัฐมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – กรกฎาคม 2564 โดยใช้อาสาสมัครกลุ่มละกว่า 25,000 คน ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวของการระบาดทั้งสายพันธุ์อัลฟ่าและเดลต้า พบว่าจำนวนอาสาสมัครที่ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีนโมเดอร์น่ามีน้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์เกือบ 2 เท่า (38:72 คนตามลำดับ) โดยในเดือนสุดท้ายของการศึกษา พบว่าประสิทธิผลในการป้องกันอาการหนักต้องเข้ารพ. ยังดีมาก โดยวัคซีนโมเดอร์น่า ยังคงมีประสิทธิผลที่ 81% (ลดลงจาก 91.6%) ขณะที่วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิผลที่ 75% (ลดลงจาก 85%) 

ด้านผลข้างเคียงของวัคซีน mRNA มี 2 เรื่องหลัก เรื่องแรก คือ การแพ้รุนแรง ซึ่งวัคซีนทั้งสองยี่ห้อมีอุบัติการณ์ใกล้เคียงกัน  คือ พบในอัตราประมาณ 1 ต่อ 300,000 คน   ส่วนเรื่องที่สอง คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายงานจากบริษัทโมเดอร์น่าระบุว่า ชายอายุต่ำกว่า 30 ปีที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์น่า มีโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ โดยอ้างอิงข้อมูลจากประเทศฝรั่งเศสในชายวัย 12-29 ปี โดยข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พบผู้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 13.3 รายจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนโมเดอร์น่าทั้งหมด 100,000 ราย เมื่อเทียบอุบัติการณ์ 2.7 ต่อ 100,000 รายในผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์  อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับผลดีในการป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว การฉีดวัคซีนถือได้ว่ามีประโยชน์มากกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการไม่ฉีดวัคซีน และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ รวมถึงองค์การอนามัยโลกยังคงเน้นย้ำว่า วัคซีนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรับมือกับโรคโควิด-19 และเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

 
 
 
 
 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่
คลายข้อสงสัย?? หน้ากากผ้าทั่วไปสามารถป้องกันไวรัส COVID-19 ได้หรือไม่
5 เทคนิคท่องเที่ยวฉบับมือโปรรับยุคใหม่แบบ New Normal





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3