ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
dot dot
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
 

ไขข้อสงสัย ภาวะมีบุตรยาก และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”

 
 

ว่ากันว่ากว่าคนสองคนจะพร้อมมีลูก ทั้งคู่ต้องคิดเผื่อสารพัดคำถามล่วงหน้าหลายสิบข้อ เพื่อตระเตรียมความพร้อมต้อนรับ เจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นสมาชิกคนใหม่ในบ้าน ...แต่ในตอนที่ทุกอย่างเกือบจะมาถึงจุดหมาย ว่าที่คุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่กลับต้องเผชิญสิ่งที่หลายครอบครัวไม่อยากเจอ อย่าง ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและความสัมพันธ์

 
 

ความหมายของภาวะมีบุตรยาก คือการที่คู่สมรสไม่สามารถประสบผลสำเร็จในการตั้งครรภ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใช้การคุมกำเนิด โดยปกติจะนิยามว่ามีบุตรยากได้ จะนับจากระยะเวลาหลังจากการใช้ชีวิตคู่อย่างน้อย 1 ปี แต่ปัจจุบันมีข้อมูลใหม่โดยใช้อายุของฝ่ายหญิงมาตัดสินร่วมด้วย คือถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี จะนิยามด้วยเกณฑ์เวลา 1 ปีเท่าเดิม แต่ถ้าฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี จะนับเวลาแค่เพียง 6 เดือน เพราะคุณภาพไข่จะลดลงไปตามวัย และจะแย่ลงไปอีกหากฝ่ายหญิงมีอายุเกินกว่า 38 ปีขึ้นไป

 
 

แม้คำนิยามของภาวะขึ้นกับอายุฝ่ายหญิงเป็นหลัก แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากก็สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งฝั่งผู้ชายและฝั่งผู้หญิง ซึ่งทางฝ่ายชายมักมาจากความผิดปกติของอสุจิเป็นหลัก อาทิ

·       ฮอร์โมนไร้ท่อจากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ

·       ตัวอัณฑะเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือการฉายแสง

·       อสุจิไม่ออกมา จากการที่ท่อนำอสุจิตัน หรือมีการไหลย้อนของอสุจิกลับไปที่ท่อปัสสาวะ

·       โรคประจำตัวต่าง ๆ เช่นโรคเบาหวาน อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือป่วยเป็นคางทูม ที่อาการรุนแรงจนส่งผลถึงตัวอัณฑะ

·       ปัญหาทางจิตเวชและความเครียดต่าง ๆ

 
 

ในทางฝ่ายหญิง นอกจากปัจจัยหลักด้านอายุที่ส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของไข่แล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน โดยเฉพาะความผิดปกติในอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็น

·       ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ไม่สร้างฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่จนไม่เกิดการผลิตไข่ขึ้นมา

·       ความผิดปกติของรังไข่ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS)

·       ภาวะรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร

·       มีการผ่าตัดที่ตัวรังไข่หรือเกิดการติดเชื้อมาก่อน จนทำให้เหลือเนื้อรังไข่น้อย

·       เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งอาจส่งผลให้ท่อรังไข่บวม ตัน หรืออยู่ผิดตำแหน่ง

·       ตัวมดลูกผิดรูป ที่เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

·       โรคอย่าง ช็อกโกแลตซิสต์ ที่เกิดจากการอักเสบในอุ้งเชิงกราน จนเกิดเป็นผังพืดและอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง 

            แพทย์หญิงพิชชา ปิ่นจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลเสริมว่า การตรวจสอบภาวะมีบุตรยากในทางการแพทย์ จะตรวจสอบได้ทั้งฝ่ายชายและหญิง โดยทั่วไปของฝ่ายชายคือการเก็บอสุจิส่งตรวจ โดยจะดูในเรื่องจำนวน เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว และรูปร่างของอสุจิ ส่วนของฝ่ายหญิงจะเป็นการตรวจภายในทั่วไป และอัลตร้าซาวด์หาความผิดปกติของอวัยวะ หรือมากกว่านั้น แพทย์จะใช้วิธีฉีดสีดูท่อนำไข่ หรือส่องกล้องในช่องโพรงมดลูก เพื่อดูเรื่องของเนื้องอกติ่งเนื้อต่าง ๆ เข้ามาประกอบ 

            เมื่อพบสาเหตุแล้ว ก็เท่ากับว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากยาหรือการผ่าตัดแล้วยังไม่สามารถมีบุตรเองได้ ทางเลือกต่อไปที่มีโอกาสมากที่สุด คือการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์อย่าง IVF เข้ามาช่วย หรือที่เราเรียกกันว่าการทำเด็กหลอดแก้ว 

            การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-Vitro Fertilization) คือเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่เพิ่มโอกาสการมีบุตรด้วยการนำไข่และอสุจิของคู่สมรสออกมาปฏิสนธิกันนอกร่างกาย วิธีการคือแพทย์จะใช้ยากระตุ้นไข่ลักษณะฮอร์โมนแบบฉีดต่อเนื่องราว 8-12 วัน เพื่อเพิ่มจำนวนไข่ จากนั้นจึงเจาะดูดไข่ออกมา แล้วจึงฉีดอสุจิของคู่สมรสเข้าไป เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิและเกิดเป็นตัวอ่อนในหลอดแก้ว และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตัวอ่อนนั้นจะถูกย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงให้เกิดการฝังตัว พร้อมตั้งครรภ์ในท้ายที่สุด 

            แพทย์หญิงพิชชา ยังเสริมต่อว่า  ในวันเดียวกับที่เราเก็บไข่ แพทย์จะให้ฝ่ายชายเก็บอสุจิออกมาด้วย ซึ่งในกรณีที่เก็บอสุจิไม่ได้หรือฝ่ายชายไม่มีอสุจิ แพทย์จะทำการเจาะอสุจิจากบริเวณท่อพักหรือจากตัวอัณฑะออกมา อีกทั้งในระหว่างกระบวนการทำ IVF จะใช้วิธี ICSI (Intra Cytoplasmic Sperm Injection) จากปกติที่เราจะให้อสุจิจำนวนหนึ่งเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เอง แต่ ICSI หรืออิ๊กซี่ คือการคัดเลือกอสุจิที่ดูดีและเคลื่อนไหวได้ดีมา 1 ตัว แล้วจึงฉีดเข้าไปในไข่ เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิให้มีมากขึ้น 

            อัตราความสำเร็จในการทำ IVF ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพของอสุจิ คุณภาพของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ ไปจนถึงความปกติของมดลูก แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด จะขึ้นอยู่กับ อายุของฝ่ายหญิงเป็นหลัก โดยการทำ IVF กับคู่สมรสที่อายุยังน้อย โอกาสตั้งครรภ์จะมีสูงถึง 30-40% แต่ถ้าทำในตอนอายุ 40 ปี โอกาสจะลดเหลือ 10-15% ยิ่งพออายุมากกว่าขึ้นในหลัก 42 ปี โอกาสตั้งครรภ์จะเหลือประมาณ 5-10% และเมื่ออายุเกิน 44 ปีขึ้นไป โอกาสที่จะตั้งครรภ์จากการทำ IVF จะเหลือน้อยกว่า 5% โดยทฤษฎี 

            ภาวะมีบุตรยาก เป็นหัวข้อที่คู่สมรสควรจะพูดคุยกับแพทย์ หรือวางแผนร่วมกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หรืออย่างน้อยก็ควรใช้วิธีตรวจก่อน เพราะหากบางคู่พยายามมีบุตรเองแล้วมาพบเจอปัญหาเหล่านี้ทีหลัง รอจนระยะเวลาผ่านไป 6 เดือน ไป 1 ปี แล้วอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จน 38-39-40 เท่ากับว่าคุณภาพไข่ก็จะยิ่งแย่ลงไปตามอายุ โอกาสในการตั้งครรภ์หรือแม้แต่กับการทำเด็กหลอดแก้ว ก็จะอาจจะช้าเกินไปเสียแล้ว แพทย์หญิงพิชชา กล่าวสรุป

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่
คลายข้อสงสัย?? หน้ากากผ้าทั่วไปสามารถป้องกันไวรัส COVID-19 ได้หรือไม่
5 เทคนิคท่องเที่ยวฉบับมือโปรรับยุคใหม่แบบ New Normal





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3