รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวอีกว่า กรณีของ สอบ. อยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งเป็นคำสั่งของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษคนก่อนที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากคุณศรีสุวรรณ จรรยา ซึ่งคาดว่าการสืบสวนดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณ 6 - 12 เดือน (ในช่วงสถานการณ์โควิด ที่ไม่สะดวกต่อการลงพื้นที่)
ส่วนกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ที่ลงไปตรวจสอบในพื้นที่นั้นก็ได้สอบสวนเจ้าหน้าที่รายนั้น ๆ แล้ว พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้กระทำการนอกเหนือหน้าที่หรือเกินขั้นตอนการลงไปสืบสวนในพื้นที่ แต่เมื่อได้รับฟังข้อมูลจาก สอบ. ว่ามีเจ้าหน้าที่บางรายที่ลงพื้นที่ตรวจสอบองค์กรสมาชิก สอบ. และแสดงพฤติกรรมที่อาจจะไม่เหมาะสม อาทิ การไม่แสดงเอกสารหมายแจ้งเข้าตรวจค้น การโทรศัพท์ในเชิงข่มขู่ เป็นต้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมรับข้อทักท้วงดังกล่าวเข้าพิจารณา
ด้าน อารีวรรณ จตุทอง นักกฎหมาย และ อนุกรรมการพิจารณาคดีของ สอบ. ตั้งข้อสังเกตว่า ตาม พ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 นั้นองค์กรที่ผ่านการรับรองการเป็นองค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ จะต้องผ่านการตรวจสอบจาก สปน. และในส่วนของจังหวัดจะต้องได้รับการรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ สปน. มอบหมายก่อน
เพราะฉะนั้นหากดีเอสไอต้องการตรวจสอบที่มาของปัญหาควรต้องไปตรวจสอบจากผู้ที่ให้การรับรององค์กรผู้บริโภคเหล่านั้นแทนที่จะลงไปตรวจสอบองค์กรผู้บริโภคโดยตรง ส่วนการตรวจสอบเรื่องเงินจำนวน 350 ล้านบาท ที่รัฐอุดหนุนเพื่อเป็นทุนประเดิมในการจัดตั้ง สอบ. นั้น ดีเอสไอควรสอบถามไปยังสำนักงาน สอบ. ที่เป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรสมาชิกเหล่านั้นมากกว่าหรือไม่
ทั้งนี้ สอบ. จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่ อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค รวมถึงในวันพรุ่งนี้ (24 พฤศจิกายน 2564) สอบ. จะเข้าหารือเรื่องดังกล่าวกับคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฏร ที่รัฐสภา
#สภาองค์กรของผู้บริโภค
#ผู้บริโภค
#องค์กรผู้บริโภค
#ดีเอสไอ
|