21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
dot dot
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
 

21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย

 
 

ใครมีโอกาสได้เข้าไปใช้บริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชที่กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ คงจะได้เห็นอาคารหลังหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่พักคอยและจัดกิจกรรมต่าง ๆ แต่ทว่าหลายคนพร้อมใจเรียกพื้นที่นี้ว่า พื้นที่แห่งความสุข

 
 

                พื้นที่แห่งความสุขนี้เป็นผลลัพธ์จาก โครงการเฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย ซึ่งมูลนิธิเอสซีจีได้จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในการมารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ให้เป็นมากกว่าพื้นที่รักษาทางกาย แต่เป็นพื้นที่ที่จะช่วยฟื้นฟูจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว ริเริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 2562 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาคีเครือข่ายสถาปนิก และธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ตั้งใจที่จะสร้าง ความสุข ให้ทุกชีวิตที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลมีความสะดวกสบาย สะอาด ปลอดภัย เป็น พื้นที่แห่งความสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี 

 
 

พื้นที่แห่งความสุขภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชที่มีอยู่ 21 แห่งทั่วประเทศ นับว่ามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป การออกแบบจะเอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดีของคนทุกกลุ่ม ผ่านกระบวนการออกแบบแบบมีส่วนร่วม (Participatory Design) เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในแต่ละบริบท ครอบคลุมความต้องการของทั้งโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ญาติ สถาปนิก นักออกแบบ ตลอดจนประชาชนที่ใช้งานพื้นที่จริง โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง ในการก่อสร้างได้นำเทคโนโลยี Building Information Modeling หรือ BIM มาใช้ เพื่อลด Waste ลดเวลา และลดค่าใช้จ่าย

 
 

“ข่วงฮ่วมใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จ.เชียงราย

ผู้ออกแบบ : ใจบ้านสตูดิโอ

ด้วยความคิดที่ว่าการออกแบบที่ดีต้องเชื่อมโยงผู้คน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ข่วงฮ่วมใจจึงได้รับการออกแบบให้มีความสมดุล เรียบง่าย ทว่างดงาม เชื่อมโยงธรรมชาติเข้าสู่ผู้คน โดยได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวขจี ให้ความร่มรื่น บรรยากาศผ่อนคลาย ด้วยการออกแบบให้เป็นสวนอเนกประสงค์ที่สามารถนั่งพักผ่อนใต้ร่มไม้ได้อย่างเพลิดเพลิน โดยมีจุดเด่นที่การนำต้นไม้ซึ่งให้ประโยชน์มากกว่าแค่ร่มเงาเข้ามาปลูก บริเวณลานกว้างมีการสรรค์สร้างให้เป็นพื้นที่พักผ่อน และใช้เป็นพื้นที่เวิร์กชอปจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับส่งเสริมให้ความรู้เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของผู้มารับบริการ หรือใช้เป็นลานดนตรีในสวน เพื่อสร้างความสุนทรีย์ในอารมณ์ได้อีกด้วย 

 

#ไม่พลาด_คลิบ_ข่าวสาร_และความบันเทิง ได้ทุกช่องทาง

เว็บไซต์ รวมคลิบ ข่าวสารและความบันเทิง

http://www.intvthai.com

ช่องยูทูป INTV Thai รวมคลิบข่าวสาร ความบันเทิง

https://www.youtube.com/channel/UCpngK3GfIscX1MQrq_VUWeg...

FB Fanpage : ตลาดวิเคราะห์ news รวมข่าวสารและความบันเทิง

https://www.facebook.com/taladvikraonews

FB Fanpage : INTV Channel รวมคลิบข่าวสารและความบันเทิง

https://www.facebook.com/intvchannelonline

FB Fanpage : ส่องข่าวนอก by Taladvikrao

https://www.facebook.com/upcountrynewsbytaladvikrao

 

 

“ร่มไม้สา” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จ.แพร่

ผู้ออกแบบ : ใจบ้านสตูดิโอ

จากลานจอดรถที่ปกคลุมด้วยแมกไม้เขียวขจี ได้รับการพัฒนาเป็นงานสถาปัตยกรรมภายใต้แนวคิดพื้นที่สีเขียวเช่นเดิม โดยเพิ่มเติมเรื่องความสะดวกสบาย และความปลอดภัย ที่พักคอยแห่งนี้ออกแบบและก่อสร้างได้อย่างสวยงาม โดยมีการประชุมเรื่องแนวคิดการพัฒนาภูมิทัศน์ระหว่างผู้บริหารโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สถาปนิก คนไข้ รวมถึงคนในชุมชนว่าอยากพัฒนาพื้นที่ตรงไหนให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน นอกเหนือจากบทบาทการเป็นที่พักคอย ในอนาคตทางโรงพยาบาลวางแผนใช้เป็นลานกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อให้ความรู้ด้านสุขศึกษาในห้วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น 

“ระเบียงสุขใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จ.พิจิตร

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระเบียงสุขใจสร้างขึ้นบนสวนสวยบริเวณพื้นที่ระหว่างอาคารผ่าตัดและทางเดินเชื่อม คลุมด้วยหลังคาใสที่ให้ความรู้สึกโปร่งสบาย โดยมีกิ่งก้านของไม้ใหญ่ทอดเงาอยู่เบื้องบน ผู้ออกแบบตั้งใจแทรกระเบียงสุขใจไปกับตำแหน่งของต้นไม้เดิมและพุ่มไม้ด้านบน พื้นที่นี้มีร่มเงาของต้นไม้และตึกอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องทำหลังคาทึบ เมื่อมองขึ้นไปจะเห็นเงาของกิ่งก้านและใบไม้ที่สั่นไหวไปตามแรงลม แสงที่ลอดผ่านมอบความงามอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง ภายในจัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่มอบความอบอุ่น สบายใจ ให้อารมณ์เสมือนชานบ้าน 

“ชานสุขใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จ.พิษณุโลก

ผู้ออกแบบ : กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชานสุขใจออกแบบให้สอดรับกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน โดยเป็นพื้นที่กึ่งปิดกึ่งเปิดระหว่างส่วนพักคอยสำหรับญาติด้านใน และบริการภายนอกอาคาร เพิ่มลูกเล่นการออกแบบให้โดดเด่นด้วยชานลอยตัวขนาดใหญ่ที่สร้างมิติให้กับพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีการจัดวางโต๊ะตัวใหญ่ไว้ใช้ประโยชน์ สำหรับนั่งรับประทานอาหาร หรือจะนั่งคุยกันก็เพลินไปอีกแบบ แถมด้วยที่นั่งซึ่งออกแบบให้เอนนอนได้ จึงสามารถเอนกายพักผ่อนเพิ่มพลัง หรือจะอ่านหนังสือเล่มโปรด ดูหนัง ฟังเพลงจากโทรศัพท์มือถือ ก็ช่วยคลายเครียดได้ไม่น้อย 

“ระเบียงกาด” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน

ผู้ออกแบบ : ใจบ้านสตูดิโอ

ระเบียงกาดถูกออกแบบโดยคำนึงถึงการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยสำหรับนั่งพักผ่อนและรับประทานอาหารเป็นหลัก อีกทั้งสร้างสภาพแวดล้อมบริเวณตลาดให้ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น ความโดดเด่นคือหลังคาซึ่งใช้แผ่นโปร่งแสงที่นอกจากจะให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบาย ยังช่วยกระจายแสงธรรมชาติให้เข้ามาภายในโดยไม่ต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน เมื่ออิ่มอร่อย นั่งพักย่อยอาหารแล้ว ระเบียงกาดยังมีกาดสีเขียว ที่จำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสุขภาพ โดยพ่อค้าแม่ขายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้บริโภคได้จับจ่ายอย่างปลอดภัย แถมด้วยเสียงเพลงจากวงดนตรีพื้นบ้านที่สลับสับเปลี่ยนมาบรรเลงให้ฟังกันอย่างเพลิดเพลิน

“อาคารเติมสุข” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

ผู้ออกแบบ : ฮอมสุข สตูดิโอ

การออกแบบโดดเด่นด้วยการใช้ทรายล้างและเคลือบสีเพื่อความสวยงาม ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการเคลื่อนที่สำหรับรถเข็นผู้ป่วยฉุกเฉินรวมถึงรถเข็นคนพิการ นอกจากนี้ ยังได้ปรับพื้นที่ด้านหน้าอาคาร OPD เป็นจุดจอดรับ-ส่งผู้ป่วยให้เป็นสัดส่วน ทำให้การสัญจรลื่นไหลมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่ด้านหน้าอาคารทั้งหมดมีการต่อยื่นโครงหลังคาเหล็กแบบ Truss จากอาคารเดิม ส่วนทางปีกขวาของอาคารมีการปรับแบบโดยเพิ่มพื้นที่นั่งพักคอยบางส่วน ทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องยืนรอกันอย่างแออัดเหมือนที่ผ่านมา นอกจากนี้พื้นที่พักคอยที่เพิ่มมานี้ยังรองรับการใช้งานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงพยาบาลจัดขึ้นได้ด้วย 

“ลานใจจอมบึง” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จ.ราชบุรี

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แนวคิดหลักในการออกแบบเป็นไปตามแนวทางของการจัดพื้นที่กายภาพในภาวะ Post COVID-19 อีกทั้งยึดหลักการออกแบบสำหรับคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยอย่างเท่าเทียม โครงสร้างของลานใจจอมบึงมีความเรียบง่ายแต่โดดเด่นเรื่องฟังก์ชันการใช้งาน เน้นความร่มรื่น รับลมเย็นจากธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศ ศาลาสำหรับนั่งพักมีหลังคาช่วยกันแดดกันฝน พื้นทางเดินสีน้ำตาลเข้มให้อารมณ์อบอุ่น มีการติดตั้งราวจับเพื่อความปลอดภัย เพิ่มกิมมิกด้วยการยกพื้นพร้อมเส้นสายโค้งเว้าเมื่อมองเชื่อมต่อไปยังพื้นที่วงกลมซึ่งโรยไว้ด้วยก้อนกรวดสีขาวที่ให้อารมณ์เซน ส่วนต้นไม้ที่อยู่รายล้อมก็ช่วยผ่อนคลายได้ไม่น้อย 

ศาลาปันสุข โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จ.สระแก้ว

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ศาลาปันสุขสร้างขึ้นจากแนวคิดการเชื่อมโยงบริบท “พื้นที่สีเขียว” ของแมกไม้ที่รายล้อมพื้นที่ใช้สอยขนาด 98 ตารางเมตรภายใต้หลังคารูปทรงเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่พัฒนามาจากวงกลม 3 วง ซึ่งเป็นเสมือนภาพแทนของต้นไม้ ยึดโยงด้วยโครงเหล็กแข็งแรงที่มีรูปทรงเสมือนลำต้นของไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ความร่มรื่น นอกจากนี้ ศาลาปันสุขยังมีลานโล่งซึ่งผู้ออกแบบได้ออกแบบขึ้นโดยคำนึงถึงกิจกรรมเดิมของผู้ป่วยและญาติที่เคยทำมา นั่นคือการปูเสื่อและผูกเปลนอนใต้ต้นไม้ เพื่อสร้างความเพลิดเพลินบนสวนหย่อมแห่งนี้ 

“เฮือนสุขใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จ.ขอนแก่น

ผู้ออกแบบ : กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เฮือนสุขใจได้นำลวดลายแคนแก่นคูณมาผสมผสานเข้ากับตัวอาคารเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ที่ชัดเจน โดยลดทอนรายละเอียดของลายแคนแก่นคูณ นำมาประยุกต์เป็นแพตเทิร์นการเรียงผนังอิฐมอญ ซึ่งเป็นผนังหลักและเป็นจุดรวมสายตาของผู้คน สอดคล้องกับวัฒนธรรมหลักของเมือง การออกแบบพื้นที่ใช้สอยนั้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตและลักษณะเฉพาะถิ่น คำนึงถึงพื้นที่ยกระดับในอาคารเรือนพักที่เน้นอิริยาบถในการนั่งพูดคุย และนั่งล้อมวงกินข้าว เฮือนสุขใจยังมีฟังก์ชันพิเศษ คือ สามารถนอนพักค้างได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังมีห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ที่ปัสสาวะสำหรับเด็กผู้ชาย รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ 

“ศาลากุฉินารายณ์” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

ผู้ออกแบบ : ครอส แอนด์ เฟรนด์

ด้วยโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนแต่สะท้อนประโยชน์ที่มีต่อผู้คนในท้องถิ่นอย่างมากมาย ศาลากุฉินารายณ์ไม่เพียงเป็นไปตามจุดมุ่งหมายการรองรับผู้ใช้บริการที่มีจำนวนมาก แต่ยังตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆ ซึ่งฉายภาพต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของคนท้องถิ่น ที่พักคอยนี้ไม่ได้มีเพียงพื้นที่พักคอย แต่ยังมีเวทีการแสดงและพื้นที่อเนกประสงค์ที่สามารถใช้งานในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายและสาธิตการปรุงอาหารอีสานรสแซ่บนัว หรือกิจกรรมอื่น ๆ เก้าอี้ภายในศาลายังซุกซ่อนความหมายผ่านรูปแบบที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนไหวของขาไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปีที่ทอดร่างอยู่ใต้ผืนแผ่นดินถิ่นกาฬสินธุ์แห่งนี้ 

“เพาะกล้าตาโขน” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ด้วยวิถีชีวิตตลอดจนบริบทของชุมชนทำให้พื้นที่พักคอยแห่งนี้แตกต่างจากที่อื่นอย่างสิ้นเชิง จากการลงพื้นที่สำรวจและร่วมปรึกษาหารือระหว่างทีมออกแบบ และผู้เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ได้คือการพัฒนาพื้นที่และเครื่องเล่นภายในสวนสาธารณะสำหรับประชาชนที่อยู่ติดบริเวณด้านนอกโรงพยาบาลให้กลายเป็นอาคารเพาะกล้าตาโขน สนามเด็กเล่นที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการของโรงพยาบาลที่สนับสนุนเรื่องแม่และเด็ก รวมทั้งสัมพันธภาพอันดีภายในครอบครัว ภายในเพาะกล้าตาโขนมีการจัดวางเครื่องเล่นหลากชนิดและสีสันพร้อมป้ายอธิบายการใช้งานที่ดึงดูดให้เด็กเข้ามาออกกำลัง 

“เรือนสุขใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จ.อุดรธานี

ผู้ออกแบบ : กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สถาปนิกออกแบบตัวเรือนสุขใจให้คล้ายกับชานหรือระเบียงที่ยื่นออกมาจากส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งแต่เดิมมีต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงา โดดเด่นด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่รองรับการเข้าถึงและตอบสนองการใช้งานของผู้ป่วยที่นั่งรถเข็นและผู้พิการ เรือนสุขใจยังมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะนั่ง นอน เดินยืดเส้นยืดสาย อีกทั้งยังสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น รับประทานอาหาร เป็นที่วิ่งเล่นของเด็ก ๆ หรือพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครอบครัวอื่น ๆ ที่ต่างก็มารอผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดได้อีกด้วย 

“โฮงโฮมสุข” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โฮงโฮมสุขได้หยิบองค์ประกอบเด่น เช่น ลูกกรงราวระเบียง บานประตู และช่องระบายอากาศเหนือประตูของห้องแถวไม้และห้องแถวผสมคอนกรีต ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าจากย่านเมืองเก่าท่าบ่อมาประยุกต์เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นและให้เกิดความร่วมสมัยยิ่งขึ้น โฮงโฮมสุขได้รับการออกแบบเป็นชานยกสูงโดยแยกส่วนให้มีระดับลดหลั่นแตกต่างกันไปเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อเป็นเวทีและพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์แคร่นั่งพักผ่อนบริเวณสองข้างทางเข้าหลักให้เป็นเหมือนศาลา แบ่งสัดส่วนเป็นพื้นที่พักคอยสำหรับผู้ป่วยและญาติ อีกทั้งมีพื้นที่รองรับผู้ป่วยระยะท้ายกับญาติและบุคลากรของโรงพยาบาลให้ได้พบปะกันอีกด้วย 

“ศาลาสุขใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม

ผู้ออกแบบ : ครอส แอนด์ เฟรนด์

ศาลาสุขใจถือกำเนิดขึ้นภายใต้ฉันทามติที่ลงตัวในทุกแง่มุม ภายใต้จุดประสงค์หลักเพื่อเป็นพื้นที่รองรับผู้เข้ารับบริการที่ต้องใช้เวลาทั้งวันอยู่ในโรงพยาบาล การออกแบบอาคารบนพื้นที่ระหว่างโรงอาหาร ห้องน้ำ อาคาร IPD และอาคาร OPD เริ่มต้นด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งได้มาล้อมวงสนทนาระดมไอเดียกันในกลุ่มย่อยก่อนนำแนวคิดของทุกกลุ่มมาผสมผสานจนได้แบบสเกตช์เบื้องต้นที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา โดยมีประเด็นที่สอดคล้องกันคืออยากจะให้ที่พักคอยของโรงพยาบาล มีลักษณะเป็นชานขนาดใหญ่ และมีแคร่อยู่ตรงกลางให้ได้นั่งเอกเขนกดังเช่นที่คุ้นเคย 

“เดิ่นบ้าน” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จ.อุบลราชธานี

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เดิ่นบ้านได้รับการออกแบบโดยมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ใช้สอยที่รองรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากจะเป็นที่พักผ่อนของญาติผู้ป่วยแล้ว ยังรองรับกิจกรรมอื่นได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำโรงทาน การเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ช่วยชุบชูกำลังใจให้กลับคืนมา จุดเด่นสำคัญภายใต้แนวคิดเดิ่นบ้านที่ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายคือการนำพืชพรรณทางภูมิทัศน์มาเติมเต็มความเขียวขจี เพิ่มความสดชื่น และเพิ่มพื้นที่เติมออกซิเจนให้แก่ปอด กอปรกับการเลือกใช้วัสดุพื้นผิวไม้เข้ามาผสมผสานกับพื้นหญ้าที่ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการพักผ่อน อีกทั้งการออกแบบพื้นที่ให้มีการปูหญ้ายังช่วยให้สามารถใช้เท้าเปล่าเดินบนพื้นหญ้าได้อย่างสบายเท้า 

“ศาลาเลิงนกทา” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จ.ยโสธร

ผู้ออกแบบ : ครอส แอนด์ เฟรนด์

ที่ลุ่มมีแอ่งน้ำคือความหมายของคำว่าเลิงในภาษาอีสาน ส่วนนกทาคือนกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายไก่ต๊อกดังที่ปรากฏรูปปั้นขนาดใหญ่หน้าศูนย์ราชการในท้องถิ่น ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ออกแบบนำสภาพแวดล้อมที่กลายเป็นชื่ออำเภอมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมบนพื้นที่ใช้สอยขนาด 94 ตารางเมตร เพื่อตอบโจทย์การใช้งานสำหรับผู้ป่วยและญาติ นอกจากนี้ ในแง่วัสดุก่อสร้างยังมีองค์ประกอบที่ส่งผลและสอดคล้องกับแนวคิดของสถาปัตยกรรม เช่น โซ่ระบายน้ำฝนสีขาวที่ให้ความรู้สึกเบา ลอย ราวกับบินได้คล้ายนก ซึ่งไม่เพียงสวยงามกลมกลืน แต่ฟังก์ชันการใช้งานยังมีประสิทธิภาพดีด้วยรูปทรงและระบบระบายน้ำที่ได้รับการออกแบบเฉพาะตัว ทำใหระบายน้ำฝนออกจากตัวรางได้อย่างรวดเร็ว 

“เฮือนโฮมสุข” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร

ผู้ออกแบบ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาคารไม้หน้าจั่วชั้นเดียว ด้านหน้ามีเพิงขนาดพอเหมาะที่เรียกกันสืบต่อมาว่าทรงหมาแหงนอันคุ้นตาคือหนึ่งในรูปแบบหลักของสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองสกลนครที่นำมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่พักคอยสำหรับผู้ป่วยและญาติ ด้วยความตั้งใจจึงนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมในนามเฮือนโฮมสุข ซึ่งเป็นคำภาษาถิ่นอีสานที่มีความหมายว่าโรงรวมความสุข เพื่อสื่อถึงการหลอมรวมความสุขในคุณภาพชีวิตที่ดีจากการรับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ทางเชื่อมถูกเนรมิตขึ้นเป็นอาคารรูปแบบเรียบง่าย พร้อมแบ่งฟังก์ชันการใช้งานในหลากหลายหน้าที่ 

“หลาร่มใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

ผู้ออกแบบ : สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ภาพบรรยากาศของผู้คน กำลังใจ รอยยิ้มเสียงหัวเราะ เกิดขึ้นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในทุก ๆ วัน ทำให้หลาร่มใจไม่ได้เป็นเพียงที่พักคอย แต่ยังเป็นพื้นที่มีชีวิตและชีวาที่เชื่อมโยงชุมชนกับโรงพยาบาลให้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน หลาร่มใจออกแบบภายใต้แนวคิดการเลื่อนไหลของผู้ป่วยและญาติ โดยสร้างความเชื่อมต่อระหว่างอาคาร OPD สู่อาคารพักญาติได้อย่างสะดวกสบาย พร้อมทั้งมีพื้นที่นั่งพักตลอดแนวทางเดินที่มีหลังคาคลุมกันแดดกันฝน แถมยังมีลูกเล่นอยู่ที่สายโซ่ลายดอกไม้ซึ่งห้อยยาวตั้งแต่หลังคาลงมาเกือบจรดพื้น เพื่อช่วยรองรับไม่ให้น้ำฝนไหลสาดเข้ามาตลอดแนวโถงทางเดิน โดยน้ำฝนจะค่อย ๆ ไหลรวมผ่านสายโซ่ลงมาให้บรรยากาศแบบเซนอันแสนสงบเย็น ซึ่งเสริมฟังก์ชันการใช้งานให้โถงทางเดินและหลาร่มใจมีเสน่ห์ได้ 

“เรือนอุ่นใจศรีญาฮา” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จ.ยะลา

ผู้ออกแบบ : สถาปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน

เรือนอุ่นใจศรีญาฮาเกิดขึ้นจากอาคารสหกรณ์เดิม ซึ่งทีมสถาปนิกได้ปรับปรุงให้กลายเป็นโรงอาหารเรือนอุ่นใจศรีญาฮาที่มีการแบ่งฟังก์ชันการใช้งานเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน โดยออกแบบชั้นล่างให้เป็นลานกว้างสำหรับนั่งรับประทานอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของชาวบ้านที่จะนำอาหารมารับประทานกันเองในกลุ่มครอบครัวเครือญาติ ในขณะที่พื้นที่บริเวณชั้นลอยออกแบบให้เป็นที่รับประทานอาหารของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งแขก วิทยากร ในกรณีที่โรงพยาบาลจัดกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมีลานอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาวะแก่ผู้ใช้บริการของโรงพยาบาลด้วย 

“ลานสุขใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี

ผู้ออกแบบ : กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ด้วยพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดใหญ่ถึง 817.5 ตารางเมตร ลานสุขใจจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่พักคอยเท่านั้น แต่ยังปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยในส่วนอื่น ๆ ให้เกิดความต่อเนื่องเชื่อมโยงเพื่อตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด การปรับปรุงเริ่มต้นตั้งแต่บริเวณพื้นที่ทางเชื่อมหน้าโรงพยาบาลระหว่างอาคาร OPD หลังเดิมและอาคารหลังใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม พร้อมกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นมิตรแก่ญาติผู้ป่วยที่มาพักรอ รวมทั้งปรับปรุงทางลาดและบันไดเพื่อให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เหมาะสำหรับการใช้งานจริง 

“โรงอิ่มใจ” โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จ.ปัตตานี

ผู้ออกแบบ : กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โรงอิ่มใจเกิดขึ้นแทนอาคารซ่อมบำรุงเดิม โดยได้ปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เป็นพื้นที่โรงครัวและพื้นที่รับประทานอาหารที่เน้นความโปร่ง โล่ง สบาย คำนึงถึงการออกแบบที่ผ่านการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ โดยเน้นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริงระหว่างสถาปัตยกรรม บริบท และผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารหรือการนั่งพักคอย ทั้งยังแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้บริการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ และพื้นที่สำหรับเก็บภาชนะ จาน ชาม แก้ว หลังรับประทานอาหารเสร็จอีกด้วย รวมถึงอีกหนึ่งฟังก์ชันสำคัญ คือ การเป็นพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามวัย ตามโรค และคำนึงถึงโภชนาการเพื่อสุขภาวะที่ดี

 
 
 
 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

“เครียดลงกระเพาะ” โรคฮิตที่อย่ามองข้ามความเครียด คือ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย article
เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็น”ฮ่องเต้ซินโดรม” article
ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3