ทุกคนปรารถนาการมีสุขภาพดีแข็งแรง แต่ทว่าหลายคนอาจละเลยและมองข้ามการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมตามวัย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจำเป็นต้องฟังเสียงร่างกายตัวเอง เพื่อดูแลสุขภาพร่างกายอันมีค่าก่อนสายเกินแก้ หรือเมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายคนเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เกิดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หรือประสบปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น
สอดคล้องกับรายงานสุขภาพคนไทย ประจำปี 2566 เผยว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aged Society) โดยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 12.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งมีอัตราของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้มักประสบปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะข้อต่อและกระดูกที่จะมีมวลกระดูกน้อย มีโอกาสแตกหักได้ง่าย มีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง รวมถึงสูญเสีย ความแข็งแรงและความยืดหยุ่น จนนำไปสู่โรคข้อเสื่อมในที่สุด ถือเป็นโรคสุดฮิตของผู้สูงอายุในปัจจุบัน
ตามปกติ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปประมาณร้อยละ 8 ในทุกๆ 10 ปี และช่วงอายุ 70 ปี อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวถึงร้อยละ 15 ในทุกๆ 10 ปี แต่ปัญหาสุขภาพการเคลื่อนไหวร่างกายสามารถเกิดได้ในทุกช่วงอายุ เพราะในทุกๆ ไลฟ์สไตล์ เรามักจะใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง ทั้งการเดิน วิ่ง ยืนนานๆ ใส่รองเท้าส้นสูง หรือยกของหนักๆ จนเกิดเป็นแรงกดทับ หรือการกระแทกของกระดูก เอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อรอบข้อและการอักเสบบริเวณข้อ
สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ จากแอมเวย์ ได้ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างพิถีพิถันยาวนานเกือบ 90 ปี ขอแนะนำวิธีการสร้างบาลานซ์สุขภาพที่ดี เสริมสร้างการมีร่างกายและข้อต่อที่แข็งแรงด้วย 4 เคล็ดลับที่ได้ ‘พลัสสุขภาพและการเคลื่อนไหว’ ที่ดีที่ใครๆ ก็ทำได้
1. เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ควรเน้นทานพืชผักผลไม้ ให้มาก เลือกทานโปรตีนคุณภาพดี อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ถั่วลันเตา ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำ รวมทั้งสารอาหารอื่นๆ เช่น เปปไทด์จากถั่วเหลือง เปปไทด์จากถั่วลันเตา และสารสกัดจากอโลเวรา เพื่อช่วยดูแลสุขภาพพื้นฐาน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและความคล่องตัว ทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อ และต้านการอักเสบและบำรุงข้อ
2. ดื่มน้ำมากๆ
กรมอนามัยโลกแนะนำให้เราดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน น้ำจะช่วยสร้างสมดุลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วย ในเรื่องกระดูกอ่อนตามข้อต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึงร้อยละ 70 และยังมีหน้าที่สำคัญในการหล่อลื่นและรับแรงกระแทกกับข้อต่อในร่างกาย
3. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
หากเราบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์มากเกินไป สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งด้านกายภาพ อารมณ์ และความรู้สึก เช่น อาจเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อต่อหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งพิษของแอลกอฮอล์สามารถทำลายเซลล์กระดูกโดยตรง ทำให้กระดูกสะโพกและแขนหักง่าย หรือเกิดภาวะกระดูกเปราะง่ายนั่นเอง ยิ่งดื่มมาก ก็ยิ่งเสี่ยงมาก ดังนั้น แนะนำให้ลดหรืองดการทาน เพื่อลดผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
4. หมั่นบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ
นอกจากเลือกทานสิ่งที่มีประโยชน์และเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดีแล้ว การบริหารร่างกายด้วยการออกกำลังกาย เช่น การบริหารกล้ามเนื้อต้นขา ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้มีความแข็งแรง ก็มีส่วนช่วยเสริมความมั่นคงให้กับข้อเข่าและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้ หรือการว่ายน้ำ ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยไม่มีอันตรายต่อข้อ ถนอมข้อต่อ ลดอาการปวดข้อได้ดีในผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักมาก
อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารและสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งแอมเวย์เข้าใจและต้องการช่วยให้ผู้คนมีชีวิตและสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นแนวคิดที่เรายึดถือในการดูแลสุขภาพของคนไทยและทั่วโลกได้มี Well Being ที่แท้จริง! |