เรือนภรณ์ภักดี เรือนไทยที่วิจิตรงดงาม คงความเป็นไทยโบราณ ทรงคุณค่าด้วยงานไม้ทั้งเรือน ตกแต่ง ประดับประดาด้วยประติมากรรมงานไม้แกะสลักอายุกว่า ๑๐๐ ปี ได้อย่างลงตัว ชวนให้หลงใหลสัมผัสกับคุณค่า ความภูมิใจของความเป็นไทย รังสรรค์ให้เรือนภรณ์ภักดีเป็นสถานที่เล่าเรื่องศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ในคอนเซ็ปต์ "อิ่ม หนำ สำราญ"
โดย คุณกัญกร ภักดีดิฐกุล ผู้บริหารและเจ้าของเรือนภรณ์ภักดี ร่วมกับ คุณพิสิฐเวท ตั้งตระการ ผู้บริหาร หจก. ชันไรส์ช แทรเวล เปิดเรือนภรณ์ภักดี ให้แขกผู้มีเกียรติได้สัมผัสควาเป็นไทย อิ่ม หนำ สำราญ โดยเรือนภรณ์ภักดี มีความตั้งใจให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสความรู้สึกเหมือน "กินข้าวอยู่บ้าน" ด้วยความอบอุ่น และกลิ่นอายย้อนยุคตามแบบฉบับของคนไทยภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟ ชุดอาหารไทยใน "ขันโตก" ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยในภาคเหนือ งดงามด้วยภาชนะที่มีลวดลายเบญจรงค์ ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งขันโตก และภาชนะเบญจรงค์ ถูกถ่ายทอดความตั้งใจด้วยการผลิตใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะของความเป็นไทย เมื่อได้เต็ม "อิ่ม" กับอาหารไทยเลิศรส เรือนภรณ์ภักดีก็ไม่ลืมที่จะให้ความ "สำราญ" กับทุกท่านเพลิดเพลินไปกับศิลปการแสดง วัฒนธรรมไทยที่ทรงคุณค่า ดังนี้
ฟ้อนพัด หรือ วี เป็นการแสดงต้อนรับทุกท่านด้วยขบวนบายศรี ความงดงามในนาฏยลีลาของสตรีชาวล้านนา ที่ประกอบกับการใช้ "วี" หรือ "พัด" ในการแสดง ด้วยการฟ้อนรำอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวัฒนธรรม ของชาวล้านนา ในท่วงทำนองพริ้วไหว สื่อให้เห็นวัฒนธรรมการต้อนรับ ดูแลปรนนิบัติแขกผู้มาเยือนด้วยความยินดียิ่ง
รำกลองยาว ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลางยาว หรือ เถิดเทิง กับเรื่องเล่าเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า คนไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกัน
เมื่อคนไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่าย รำกลองยาวจึงเป็นที่นิยม และใช้เป็นการแสดงหลายๆ งานมาจนทุกวันนี้
รำพรานบุญจับนางกินรี การแสดงที่เป็นดั่งละคร เป็นเรื่องของพรานบุญที่เดินทางมาพบนางมโนราห์กำลังเล่นน้ำ จึงร่ายเวทมนต์คาถาและนำนาคบาศมาจับนางมโนราห์เพื่อนำไปถวายพระสุธน ซึ่งการแสดงชุดนี้จะเน้นความสนุกสนาน รื่นเริง
ตารีกีปัส การแสดงพื้นเมืองประจำมณฑลทักษิณ ประกอบการใช้พัดซึ่งประดิษฐ์ษฐ์ขึ้นจากวิถีชีวิตชาวไทย ภาคใต้ บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมเรียบง่ายแต่เข้มขันเป็นกันเอง บ่งบอกถึงอุปลักษณะนิสัยที่มีความร่ำเริงสนุกสนาน
ลาวกระทบไม้ เป็นสิ่งซึ่งผู้คนโดยมากรับรู้ว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่พัฒนามาจากการละเล่นดั้งเดิมที่เรียกว่า "เต้นสาก" เป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ "กระทบไม้" นิยมเล่นกันช่วงว่างเว้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวตามวิถีชาวนาไทยลาวสองฝั่งแม่น้ำโขง ว่ากันว่าไทยนำ
"เต้นสาก" ของลาวมาตัดแปลงคิดท่ารำใส่นตรีแล้วเรียกว่า "ลาวกระทบไม้" แต่ยังมีอีกหลายชาติที่มีการละเล่นกระทบไม้ในวัฒนธรรมของตน
นอกจากศิลปะการแสดงที่จะสร้างความ "สำราญ" ใจให้กับทุกท่านแล้ว ยังมีกิจกรรมการแกะสลักผัก ผลไม้ งานฝีมือที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษแต่โบราณ "We take care of you"