วิกฤต PM 2.5 หลีกเลี่ยงได้ถ้าเราช่วยกัน
ReadyPlanet.com
dot dot
วิกฤต PM 2.5 หลีกเลี่ยงได้ถ้าเราช่วยกัน

วิกฤต PM 2.5 หลีกเลี่ยงได้ถ้าเราช่วยกัน 

 
 

จากข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) มีประชากรประมาณ 6.7 ล้านคนต่อปี ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากสาเหตุจากมลภาวะที่เพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีมากกว่า 4 ล้านคนที่เสียชีวิตจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งมลภาวะในอากาศเกิดจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือ PM 2.5 ที่กำลังเป็นภาวะวิกฤตสำคัญอยู่ขณะนี้ ซึ่งในกลุ่ม 6.7 ล้านคนที่เสียชีวิตพบว่า ประมาณ 43% เกิดจากถุงลมโป่งพอง 29% เสียชีวิตจากมะเร็งปอด 25% เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด และ 24% เสียชีวิตจาก
อัมพฤกษ์อัมพาต และ
17% เสียชีวิตจากปอดอักเสบ

พันโท นายแพทย์ โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้ก่อตั้งและซีโอโอ บ.สหเวชกิจ (ประเทศไทย) จำกัด (Allied Health (Thailand) Co.,Ltd) บริษัทที่เป็นที่ปรึกษาทางการแพทย์ และประสานการให้บริการจากสถานบริการที่มีมาตรฐานสำหรับผู้ต้องการรับบริการทั้งคนไทยและต่างชาติ เผยว่า “มลพิษในอากาศเกิดจากหลายสาเหตุ

สาเหตุแรกที่เราทราบกันโดยทั่วไป คือ PM 2.5 และ PM 10 นอกจากนี้เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่นไนโตรเจนใดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เกิดเป็นสารพิษเกิดขึ้น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นกรดตะกั่วเกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง โพลีไซคลิกอะโรมาติกใฮโดรคาร์บอน ที่เกิดจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือ เรดอน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันมีผลกระทบกับทั่วโลก

ในกรณีของ PM มี 2.5 เมื่อหายใจเข้าไป PM 2.5 ก็จะละลายเข้าไปอยู่ในกระแสโลหิตแล้วทำให้เกิดความผิดปกติตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด หลอดเลือดหัวใจและสมอง จึงเห็นได้ชัดว่ามีพิษต่อร่างกายอย่างมาก ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก แนะนำให้หลีกเลี่ยงโดยเฉพาะกรณีที่มีค่า PM 2.5 สูงเกินกว่า 15 ไมโครกรัมต่อหนึ่งลูกบาศก์เมตร จากข้อมูลสภาวะแวดล้อม AQI (Air Quality Index) ในปัจจุบันเราพบว่าประเทศไทย ในภาคกลาง ภาคเหนือ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครฯ และจังหวัดเชียงใหม่มีมลภาวะสูงมากในบางช่วงมากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ยิ่งมีค่า PM 2.5 สูงความเป็นพิษยิ่งสูงตามไปด้วย

PM 2.5 ไม่มีค่าสูงตลอดปี แต่เกิดเฉพาะในบางช่วงบางฤดูซึ่งอากาศปิด อากาศนิ่ง มลภาวะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นจากการเผาไหม้ของน้ำมันหรือว่าจากการเผาไร่อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ มันอยู่นิ่ง ลอยอบอวนอยู่ในอากาศ ไม่ถูกทำให้เจือจางลง จึงมีการสะสมของ PM 2.5 ได้มาก

องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อแนะนำในการวางแผนจะรับมือมลภาวะที่สูงขึ้นโดยการ หนึ่งให้ความรู้กับบุคลากรหรือคนทั่ว ๆ ไปว่ามลพิษเหล่านี้มีสาเหตุเกิดจากอะไรและจะมีการป้องกัน หรือ ลดสาเหตุของการเกิดมลพิษนี้อยางไร สองคือการตรวจติดตามสภาวะความเป็นพิษของอากาศอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และสามคือการให้ข้อมูลวิธีป้องกันส่วนบุคคล สำหรับประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีข้อแนะนำว่าถ้า PM เกินกว่า 50 ไมโครกรัมต่อหนึ่งลูกบาศก์เมตร จะเป็นระดับความเป็นมลภาวะสูงเป็นอันตรายมาก แนะนำให้งดการออกกำลังกายในที่แจ้ง ถ้าเกิน 150 ต้องใส่หน้ากาก PM 2.5 หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ติดตั้งระบบกรองอากาศในที่พัก รวมถึงดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีโครงการหลายโครงการที่รณรงค์ให้ปลูกต้นไม้มากขึ้นเพื่อลด PM 2.5 แต่มาตรการดังกล่าวเป็นการหวังผลการลดจำนวนมลภาวะในระยะยาว รวมถึงมีการตรวจติดตามในอาคารว่ามีฝุ่นมากน้อยขนาดไหนหรือมีสารก่อมะเร็งไหม ในขณะที่ภาครัฐก็มีมาตรการเชิงกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อให้คนลดการก่อให้เกิด PM 2.5 เช่น มาตรกรการห้ามเผ่าป่า การห้ามเผาขยะ ส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศน้อย เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

สุดท้ายการสู้กับมลภาวะทางอากาศหรือ PM 2.5 สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้ว่า มลพิษปัจจุบันมีค่าสูงมาก หรือน้อยอย่างไร สองคือรู้ว่าเราต้องทำอย่างไรเพื่อลดการก่อให้เกิดมลพิษ การป้องกันส่วนบุคคลโดยการหลีกเลี่ยง ต้องใส่หน้ากากไหม หรือติดเครื่องกรองอากาศในบ้านมากน้อยแค่ไหน การปลูกต้นไม้ ขอเพียงเราช่วยกันตระหนักรู้และพยายามไม่ทำให้เกิดมลภาวะมากขึ้น ก็มีส่วนช่วยในการลด PM 2.5 ได้ขณะเดียวกัน การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมลพิษ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด โรคสมอง จึงมีความสำคัญเพื่อการมีสุขภาพที่ดี และลดโอกาสเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร” พันโท นายแพทย์ โชคชัย กล่าวทิ้งท้าย

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




Special Report

“AI พลิกเกมต้านโกง” ไทยเดินหน้าออกแบบระบบโปร่งใส ป้องกันคอร์รัปชันตั้งแต่ต้นทาง article
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เรียกร้ององค์กรธุรกิจใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤต รายงานพิเศษฉบับใหม่ว่าด้วยการบริหารจัดการภาวะวิกฤตระดับโลก จะช่วยพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรและส่งเสริมนวัตกรรม
การ์ทเนอร์เผยคาดการณ์ด้าน ‘ข้อมูลและการวิเคราะห์’ ที่องค์กรต้องจับตาในอนาคต
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม
การ์ทเนอร์คาดการณ์อีก 5 ปีข้างหน้าสัดส่วนของ Guardian Agents จะครอบคลุมประมาณ 10-15% ของตลาด Agentic AI Guardian Agents จะทำให้กระบวนการทำงานของ AI น่าเชื่อถือและปลอดภัยในสภาวะที่การใช้ AI มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
กรณีศึกษา Social Listening ท่ามกลางวิกฤตการเมือง
การ์ทเนอร์เผยแนวโน้มสำคัญกำหนดอนาคตคลาวด์
BASE Playhouse เผยเทรนด์อัปสกิลพนักงานองค์กรยุคใหม่ คอร์ส AI-การเป็นผู้นำ-ทีมเวิร์ค ขึ้นแท่นทักษะที่ต้องมี ตอกย้ำ 3 สกิลสำคัญในโลกการทำงานยุคใหม่ พร้อมนำเสนอ คอร์สเทรนนิ่งที่ดึงศักยภาพสูงสุดของคนวัยทำงาน
การ์ทเนอร์เผยไตรมาสแรกปี 2568 ยอดจัดส่งพีซีทั่วโลกเพิ่มขึ้น 4.8% การอัปเกรดระบบปฏิบัติการ Windows 11 และการเพิ่มสินค้าคงคลังเพื่อป้องกันผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยหนุนการเติบโต
พร้อมรับอนาคตอาชีพในสายงานเทคโนโลยี 6 ทักษะสำคัญที่มนุษย์ยุค AI ต้องมี
“ชีวิตบนเชือก เสียงจากแรงงานกลางอากาศบนตึกสูง” บันทึกของผู้กล้าที่เดินอยู่เหนือความกลัว — แรงงานที่ Metthier เลือกจะไม่มองข้าม
ซิสโก้พัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้าง ‘ความปลอดภัยรูปแบบใหม่’ ในยุค AI
วัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
บทวิเคราะห์: สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 และแนวโน้มปี 2568
ซื้อทองดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ จริงไหม?
การ์ทเนอร์คาดการณ์ อีกสองปี AI Agents จะทำให้เวลาที่ใช้โจมตีช่องโหว่ของบัญชีลดลงถึง 50% AI Agents จะฉวยโอกาสมากขึ้นจากการพิสูจน์ตัวตนที่อ่อนแอลง ด้วยการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวอัตโนมัติและช่องทางสื่อสารที่ใช้เพื่อยืนยันตัวตนต่าง ๆ ที่หละหลวม
จุดเปลี่ยนนโยบายภาษีสหรัฐฯ: "ภาษีทรัมป์" เขย่าโลก จับทิศทางการค้าและการปรับตัวของคริปโตในไทย
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ปี 2568
มุมองจากผู้บริหารแสนสิริต่อภาคอสังหาฯ ปัจจุบัน ภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ ประธานผู้บริหารสายงานกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
โซเชียลจับตา “ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก” ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
[เอเชียแปซิฟิก] ‘มาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร’ ยกย่อง 150 บริษัทอาหารระดับโลกที่เป็นผู้นำด้านสวัสดิภาพสัตว์ ประเทศกลุ่มภูมิภาค อาทิ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไทย
ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป
CADT DPU เผย บทสรุปเวทีสัมมนา “เส้นทางสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินของไทย" ความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนคือกุญแจสู่ Net Zero
ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจะทำงานอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ได้หรือไม่?
รับมือความท้าทายทรัมป์ 2.0 อย่างไร เมื่อไทยยังมีแผลเป็นเศรษฐกิจ
โค้ด (ไม่) ลับ ฉบับนักเดินทาง บางกอกแอร์เวย์ส แจงชื่อย่อสายการบิน
สรุปผลสำรวจปี 2567 ในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว เผย THAIDOM EFFECT มาแรง
‘การ์ทเนอร์’ เผย 6 เทรนด์สำคัญส่งผลกระทบ โครงสร้างพื้นฐานและการปฏิบัติงานองค์กรปี’68
ปีใหม่..เริ่มต้นใหม่ เปิดวิถีชีวิตคนขับแกร็บ จาก “ความมุ่งมั่น” สู่ “ชีวิตที่ดีกว่า”
StemCell คืออะไร ? ทำไมถึงเป็นแนวทางการดูแลรักษาแห่งอนาคต
SCBX เผยกลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งองค์กรด้วย AI พร้อมชู 5 กล้ามเนื้อหลักขับเคลื่อนธุรกิจ
รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก...ทำเลใหม่เปิดประตูสู่การพัฒนาโครงการบ้าน และคอนโด
คนอร์เปิดตัวโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู ปฏิรูปห่วงโซ่อุปทานข้าวไทย เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
แม็คโคร โชห่วยออนทัวร์ ชูแพลตฟอร์ม Makro PRO ทรานส์ฟอร์มโชห่วยสู่สมาร์ทโชห่วย พร้อมสินค้าคุณภาพ ลดราคา ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี
ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย บอกเล่า 5 ขั้นตอนรักษ์โลก ส่งขวด PET ไปรีไซเคิล
ท่องเที่ยวกลางแจ้ง (Outdoor) จุดแข็งใหม่ท่องเที่ยวไทย ทำธุรกิจเกี่ยวข้องขยายตัว 30%
ไม่ควรตื่นตระหนกเรื่องผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากยาหรือวัคซีนใดๆ ไม่ว่าจะโควิดหรือโรคอื่น





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3