ธนาคารไทยพาณิชย์ ชูแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” (Live Sustainably) ดำเนินธุรกิจไปในทิศทางเดียวกันทุกมิติ ผสานศักยภาพเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนธุรกิจและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน ธนาคาร ลูกค้า และ สังคม หนุนความยั่งยืนก้าวเดินต่อ 3 ระยะ อาทิ หนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนจำนวน 150,000 ล้าน. ภายใน 2025, ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1-2) ให้เป็น Net Zero ภายในปี 2030 และ เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและเงินลงทุนตามมาตรฐาน Science Based Target Initiatives (SBTi) หนุนภาคธุรกิจก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ นำพาลูกค้าเติบโตฝ่าความท้าทายสู่เป้าหมาย Net Zero ควบคู่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในสังคมไทยอยู่ อย่าง ยั่งยืน
คุณกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธุรกิจในปัจจุบันกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อภาวะโลกร้อน อันเป็นผลต่อเนื่องมาถึงการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการปรับนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การที่ภาคธุรกิจทั้งระบบกำลังปรับตัวไปพร้อมๆ กันนี้เอง ก็เป็นโอกาสที่จะสร้างการขยายตัวให้เศรษฐกิจครั้งใหม่ได้อย่างมหาศาล ด้วยกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคารซึ่งครอบคลุมถึงมิติด้านความยั่งยืนที่มีการดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมาตลอด 3 ปี โดยมุ่งมั่นเป็นธนาคารชั้นนำแห่งความยั่งยืน ธนาคารจึงได้กำหนดแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่จะนำการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกคน
ภายใต้แนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ธนาคารเชื่อมั่นว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องร่วมกันตั้งเป้าหมาย สร้างแรงกระเพื่อม ประสานความร่วมมือ เพื่อสร้างอนาคตให้เราทุกคนได้อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน โดยธนาคารมีบทบาทการสนับสนุนความยั่งยืนด้วยการจัดสรรเงินทุนให้แก่ลูกค้า(Sustainable finance) กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ (Responsible lending) พร้อมนำความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคารเข้าสนับสนุนการดำเนินงานความยั่งยืนทุกมิติ ทั้งนี้ ธนาคารได้วางเป้าหมายสู่ความยั่งยืนใน 3 ระยะสำคัญ ได้แก่ 1) สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนจำนวน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.11 แสนล้านบาท (โดยนับตั้งแต่ปี 2023) 2) ปรับการดำเนินงานองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 และ 3) เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาทสู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียว
เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายข้างต้น ธนาคารได้วางกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสำหรับการส่งต่อความยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 3 แกน ประกอบด้วย 1) Sustainable Banking สนับสนุนการเงินยั่งยืนแก่ลูกค้า 2) Corporate Practice Excellence นำไทยพาณิชย์สู่องค์กรแห่งความยั่งยืน และ 3) Better Society พัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) Sustainable Banking สนับสนุนการเงินยั่งยืนแก่ลูกค้า เพื่อสนับสนุนลูกค้าลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการเสริมโอกาสทางธุรกิจ ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไทยพาณิชย์เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักทางวิทยาศาสตร์ (SBTi) และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมอีเควเตอร์ หรือ Equator Principles (EP) Association ในการนำหลักการ EP ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมาใช้ในการกำหนดนโยบายและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับการพิจารณาสินเชื่อโครงการของธนาคาร (Project Finance) เตรียมเงินทุนสนับสนุนการเงินยั่งยืนระหว่างปี 2023-2025 รวมกว่า 150,000 ล้านบาท และปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท
2) Corporate Practice Excellence สร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน มุ่งเน้นการนำไทยพาณิชย์ให้เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในทุกมิติ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และได้กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2030 จากการดำเนินงานภายใน ทั้งทางด้านการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในองค์กรให้เป็นระบบประหยัดพลังงาน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้วยการสร้างวัฒนธรรมความยั่งยืนภายในองค์กร พร้อมปลูกฝัง DNA ความยั่งยืนให้พนักงานธนาคารทุกคนด้วยทักษะและหลักสูตรต่างๆ พร้อมบูรณาการให้ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของทุกส่วนงานเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนในองค์กรและช่วยเหลือลูกค้า ควบคู่ไปกับแผนการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของธนาคารตามยุทธวิธี AI-First Bank และการยกระดับงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ก็ยิ่งเป็นการส่งเสริมความสามารถและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับไทยพาณิชย์
3) Better Society มุ่งมั่นพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น การพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้นเป็นหนึ่งในความยั่งยืนที่ธนาคารให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง และได้ร่วมช่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่เยาวชน ชุมชน และสังคมไทย มาเป็นเวลามากกว่า 3 ทศวรรษ อาทิ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ แล้วกว่า 400,000 ราย
ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงกลยุทธ์เป้าหมาย Net Zero ของธนาคารเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ว่า “ธนาคารวางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากกรอบการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ สะท้อนจากกว่า 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกที่ได้ให้คำมั่นหรือประกาศเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามกรอบ SBTi
ทั้งนี้ ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการเป็น True partner ให้กับลูกค้าของเราตลอดเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งการสนับสนุนด้านการเงินที่ยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ (Sustainable Finance) ที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนการให้ความรู้และคำแนะนำการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการของลูกค้าผ่านการจับมือกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในมิติต่างๆ ในการสร้างระบบนิเวศน์เพื่อสนับสนุนการลงมือปฏิบัติได้จริง และนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยธนาคารดำเนินการผ่านกลยุทธ์ ไว้ 3 ด้าน ดังนี้
1) การบริหารพอร์ตสินเชื่อของธนาคารให้สอดคล้องกับ Net Zero Target (Net Zero Financed Portfolio Management) ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มลูกค้ารายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) โดยในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ได้เป็นผู้นำด้านการปล่อยสินเชื่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไทยมายาวนาน โดยมีมูลค่าวงเงินอนุมัติสินเชื่อกว่า 1.98 แสนล้านบาทระหว่างปี 2011 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 61 ของพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร เทียบเคียงธนาคารชั้นนำของโลก และทำให้ความเข้มข้นของการปล่อย GHG ต่อหนึ่งหน่วยการผลิตไฟในพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักภายใต้วิธี Sectoral Decarbonization Approach (SDA) มีการปรับตัวลดลง และอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าทั่วโลกและต่ำกว่าเส้นทางในการบรรลุ Net Zero 2050 ตาม Paris Agreement โดยกลยุทธ์ในระยะถัดไป ธนาคารจะยังคงเพิ่มวงเงินสินเชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งต่อลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ เพื่อสนับสนุนความต้องการไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่มีเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการลดการสนับสนุนพลังงานถ่านหิน ผ่านการทยอยลดสินเชื่อคงค้าง (Coal Phasing Out) และไม่ปล่อยสินเชื่อใหม่ให้แก่การขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับถ่านหิน
ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ของธนาคารในการ engage กับลูกค้าเพื่อนำไปสู่การตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับบริบทของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่กับการสนับสนุนด้านสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับลูกค้าที่มีการประกาศเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ระดับอุณหภูมิพอร์ตโฟลิโอของลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยปรับลงแล้วกว่า 0.19 องศาเซลเซียส จาก 2.84 องศาเซลเซียส จากปีฐาน 2021 มาอยู่ที่ 2.65 องศาเซลเซียส ในปี 2023 โดยธนาคารมีเป้าหมายจะทำให้ระดับอุณหภูมิของพอร์ตสินเชื่อลดลงสู่ระดับ 2.35 องศาเซลเซียส ภายในปี 2028 และ 1.50 องศาเซลเซียสในปี 2040 ซึ่งจะช่วยให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรลุ Net Zero ได้ในปี 2050
2) การสนับสนุนลูกค้าตลอดเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน (Partner for Client’s Sustainability Journey) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมสนับสนุนการให้ความรู้และการนำเสนอ Technical Solutions ที่นำไปใช้ได้จริงแก่ลูกค้า ด้วยการผนึกกำลังกับองค์กรพันธมิตรที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ควบคู่กับการยกระดับศักยภาพของบุคลากร การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและกระบวนการบริหารงานภายในต่างๆ เพื่อการเป็น True Partner ให้กับลูกค้าบนเส้นทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของลูกค้าที่ต่างกัน
3) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมตามหลักการ Equator Principles (EP) (EP adoption and implementation) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผลักดัน ‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’ สู่ ‘การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน’ เพื่อช่วยลูกค้าลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ และเพื่อผลักดันการสนับสนุนแก่ลูกค้าและสังคมไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นธนาคารไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ริเริ่มการนำ Equator Principles (EP) ซึ่งเป็นกรอบการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงิน ที่นำมาตรฐานสากล Best Practices มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่กับการให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการประเมินโครงการตามหลักการ EP ไปแล้วทั้งสิ้น 53 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 75,500 ล้านบาท
|