ถอดบทเรียน ‘โรคโกเชร์’ สร้างโอกาสการเปลี่ยนแปลง สู่การดูแลผู้ป่วยโรคหายากอย่างยั่งยืน วอนภาครัฐอย่าทิ้งผู้ป่วยไว้ข้างหลัง...เร่งผลักดันการเข้าถึงการรักษาโรคหายาก
dot dot
ถอดบทเรียน ‘โรคโกเชร์’ สร้างโอกาสการเปลี่ยนแปลง สู่การดูแลผู้ป่วยโรคหายากอย่างยั่งยืน วอนภาครัฐอย่าทิ้งผู้ป่วยไว้ข้างหลัง...เร่งผลักดันการเข้าถึงการรักษาโรคหายาก

ถอดบทเรียน โรคโกเชร์ สร้างโอกาสการเปลี่ยนแปลง สู่การดูแลผู้ป่วยโรคหายากอย่างยั่งยืน

วอนภาครัฐอย่าทิ้งผู้ป่วยไว้ข้างหลัง...เร่งผลักดันการเข้าถึงการรักษาโรคหายาก
 
 

โรคโกเชร์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของ โรคหายาก ที่มีกว่า 5,000 – 6,000 โรค และเป็นหนึ่งในตัวอย่างโรคหายากในกลุ่มแอลเอสดีซึ่งมีมากว่า 50 โรค โดยโรคโกเชร์เป็นเพียงโรคในกลุ่มแอลเอสดีโรคเดียวที่ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาในประเทศไทย เนื่องจากยาได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2556 จากแรงขับเคลื่อนของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐที่เห็นความสำคัญของการเข้าถึงการรักษาและพิจารณาอนุมัติงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมูลนิธิผู้ป่วย ทำให้การเข้าถึงการรักษาโรคโกเชร์ ถือเป็นโมเดลแห่งความหวังของผู้ป่วยโรคหายากอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับสิทธิและยังคงรอโอกาสเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เพื่อเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างปลอดภัยและยั่งยืน

เนื่องในวันโรคโกเชร์สากล (International Gaucher Day) ซึ่งตรงกับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี ศ.พญ. ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโกเชร์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ เกี่ยวกับโรคโกเชร์ รวมถึงโรคหายากอื่นๆ  ในวงกว้าง เพื่อร่วมกันสร้างสังคมคุณภาพโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

โรคโกเชร์ (Gaucher Disease) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยส่วนใหญ่มักแสดงอาการตั้งแต่เด็ก หรือในบางคนอาจแสดงอาการตอนเป็นผู้ใหญ่ โรคโกเชร์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด อาการแสดงของโรคโกเชร์รวมถึง ตับม้ามโต อาการทางกระดูก และระบบประสาท ส่วนใหญ่คนไทยมักจะเป็นโกเชร์ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 3 โดยแรกคลอดจะดูปกติ แต่พออายุ 1-2 ขวบ อาจสังเกตได้ว่าท้องจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากตับและม้ามโต พบภาวะซีด เกล็ดเลือดต่ำ โดยทั่วไปแพทย์อาจจะนึกถึงโรคธาลัสซีเมียซึ่งเป็นโรคที่มีอาการใกล้เคียงกันและคนไทยเป็นมากกว่าทำให้ไม่ได้นึกถึงโรคโกเชร์ นอกจากนี้โรคโกเชร์ที่แสดงอาการในเด็ก ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ 3 มีอาการรุนแรงกว่าโรคโกเชร์ที่แสดงอาการในผู้ใหญ่  จึงขอฝากถึงแพทย์ทั่วไปว่าหากตรวจแล้วพบอาการโรคที่ไม่ตรงไปตรงมา ให้สงสัยได้ว่าคนไข้อาจเป็นโรคหายากโรคใดโรคหนึ่ง หรือโรคโกเชร์ ควรส่งต่อให้แพทย์ด้านพันธุกรรมหรือแพทย์โรคเลือด เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

ปัจจุบันสามารถตรวจยืนยันว่าเป็นโรคโกเชร์ ได้ถึง 3 วิธีคือ 1) นำเลือดมาตรวจเอนไซม์เม็ดเลือดขาว โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี สามารถตรวจได้ภายใน 2-3 วันก็ทราบผล 2) ตรวจสารในเลือด หรือตรวจ Lyso-Gb1 เป็นสารที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคโกเชร์ ซึ่งผู้ป่วยโกเชร์จะมีสารชนิดนี้สะสมอยู่ในเลือด และ 3) ตรวจความผิดปกติของยีนเพื่อยืนยันโรคโกเชร์ ทั้งนี้ หากตรวจพบ 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 วิธีนี้ก็สามารถยืนยันได้ว่าเป็นโรคโกเชร์ ปัจจุบันแพทย์จะแนะนำให้ครอบครัวที่มีประวัติหรือมีญาติที่ป่วยเป็นโกเชร์ เข้ารับการตรวจเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากโรคโกเชร์เกิดจากพันธุกรรมจากความผิดปกติของยีนซึ่งมักพบยีนแฝง (หรือพาหะ) ในทั้งพ่อและแม่ จากงานวิจัยในคนไทยตรวจพบคนเป็นพาหะโรคโกเชร์ 1 คน จาก 200 คน หรือคิดเป็น 0.5%

วิธีการรักษาโรคโกเชร์ มี 3 วิธี ได้แก่

1.       ยาเอ็นไซม์ทดแทน โดยการให้ยาเข้าทางหลอดเลือดดำทุก 2 สัปดาห์ เพราะยานี้จะทำงานได้ดีประมาณ 2 สัปดาห์ จากผู้ป่วยที่ท้องป่องเหมือนลูกโป่ง พอรักษาไปสักพัก ท้องยุบกลับมาเป็นปกติ ตับม้ามยุบหาย หายจากอาการซีดและเกล็ดเลือดกลับมาเป็นปกติ เด็กโตขึ้นและมีพัฒนาการเช่นเด็กปกติ วิธีนี้จำเป็นต้องได้รับยารักษาอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

2.     ยากิน อาจจะยังไม่เหมาะกับผู้ป่วยคนไทยและคนเอเชียเนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นโกเชร์ชนิดที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง การรักษาแบบยากินอาจเหมาะกับชาติตะวันตกที่มีอาการไม่รุนแรงมากเท่าผู้ป่วยไทย

3.     การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เม็ดเลือด เป็นวิธีที่หายขาดจากโรคได้ แต่ก็มีความเสี่ยง แพทย์จำเป็นต้องพูดคุยกับครอบครัว กรณีที่ปลูกถ่ายไขกระดูกแล้ว เม็ดเลือดสเต็มเซลล์ติด ก็จะต้องให้ยากดภูมิในช่วง 2 ปีแรก หลังจากนั้นคือหายขาด แต่กระบวนการที่จะหาไขกระดูกที่เข้ากันก็ไม่ง่าย ส่วนกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก ก็มีความเสี่ยง โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 8%

โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย แพทย์จะแนะนำการรักษาแบบผสมผสาน โดยในช่วงแรกที่ร่างกายยังอ่อนแอ แนะนำให้ยาเอ็นไซม์ทดแทนไปก่อนประมาณ 2-3 ปี จนสภาพร่างกายดีขึ้นกลับมาเป็นปกติ ระหว่างนี้ก็หาสเต็มเซลล์ที่เข้ากันได้ไปก่อนแล้วค่อยปลูกถ่ายไขกระดูกในภายหลัง    

ในฐานะผู้ปกครองผู้ป่วยโรคโกเชร์ นายบุญ พุฒิพงศ์ธนโชติ ประธานมูลนิธิโรคพันธุกรรมแอลเอสดี เล่าว่าย้อนไปเมื่อ 17-18 ปีที่แล้ว ตอนนั้นลูกอายุ 2 ขวบกว่ามีไข้ขึ้นสูงจึงพาไปโรงพยาบาล โชคดีที่หมอตรวจร่างกายละเอียดและคลำเจอตับม้ามโตผิดปกติ จึงเกิดความสงสัยว่าจะเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งก็ใช้เวลาตรวจนานถึง 2 เดือน จนทราบว่าลูกป่วยเป็นโรคโกเชร์ ที่น่าตกใจคือค่ายารักษาโรคนี้สูงถึง 2 ล้านบาทต่อปี และต้องรักษาไปตลอดชีวิต ช่วงแรกเหมือนชีวิตสิ้นหวังคิดวนอยู่ในหัวว่าควรทำอย่างไร และได้ปรึกษาคุณหมอว่าจะรวบรวมคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคหายากที่เกิดจากพันธุกรรมแอลเอสดี ซึ่งนอกจากโรคโกเชร์แล้ว ยังมีอีกหลายโรคมาร่วมพูดคุยกันเพื่อหาทางออก จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งมูลนิธิโรคพันธุกรรมแอลเอสดี มีการจัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยแพทย์ด้านพันธุกรรมและกลุ่มผู้ปกครอง

หลังจากที่ก่อตั้งมูลนิธิฯ คณะทำงานได้รวบรวมสถิติข้อมูลต่างๆ และได้นำเสนอเรื่องไปยังบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้พิจารณาบรรจุยารักษาโรคโกเชร์ เนื่องด้วยโรคโกเชร์สามารถรักษาหายขาดได้และไม่เป็นภาระงบประมาณมากนัก โดยในปี 2556 ยาได้ถูกบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สามารถเข้าถึงการรักษาและเบิกยาได้ โดยในปีแรกสามารถรักษาผู้ป่วยโกเชร์ได้ถึง 12 คน และปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทั้งสิ้น 23 คน และเคยมีผู้ป่วยโรคโกเชร์ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกและหายขาดแล้ว 6 คน อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการหาไขกระดูกที่เข้ากันได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากเข้ากันไม่ได้ร่างกายจะสร้างปฎิกิริยาต่อต้านและอาจเป็นอันตรายอย่างรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

ศ.พญ. ดวงฤดี กล่าวเสริมว่า โรคหายากในแต่ละโรค จะมียารักษาที่ราคาแตกต่างกันไป บางโรคค่ายารักษา 2-3 แสนต่อปี บางโรคหลักล้านต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีและวิธีการรักษาใหม่ๆ เช่น ยีนบำบัด (Gene Therapy) โดยจะมีการปรับแต่งยีนที่ผิดปกติใส่เข้าไปในคนไข้เพื่อให้หายจากโรค รักษาเพียงครั้งเดียวแต่หายตลอดชีวิต ค่ารักษาประมาณ 50–60 ล้านบาท บางคนอาจมองว่าราคาสูงมาก แต่หากเทียบกับค่ารักษาปีละ 2 ล้านบาทต่อคน หากรักษายาวนาน 50 ปี ก็เท่ากับ 100 ล้านบาท เพราะโรคหายากจะต้องรักษาไปตลอดชีวิต ทำให้ต้องใช้งบประมาณมากกว่าหลายเท่า จึงทำให้มีการคิดวิธีรักษาแบบใหม่ คือ ยีนบำบัด ฉีดครั้งเดียวแต่หายขาด คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นมาก ครอบครัวและผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน กลับมาใช้ชีวิตปกติและเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติต่อไปได้

แม้ว่าปัจจุบัน โรคโกเชร์ยังไม่มีการรักษาด้วยยีนบำบัด แต่โรคหายากบางโรคมีการรักษาด้วยวิธีนี้แล้ว จึงจำเป็นต้องให้สังคมไทยรับรู้เพื่อให้คนไข้มีโอกาสเข้าถึงการวินิจฉัยได้รับการรักษาก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงแล้วการได้รับยาก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก การสร้างการรับรู้ให้กับสังคมเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนไปสู่ภาครัฐจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ ศ.พญ. ดวงฤดี วอนให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน สิทธิประโยชน์ทั้งบัตรทอง บัตรราชการ ประกันสังคม รวมไปถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันพิจารณาหารือถึงกระบวนการ และแนวทางใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับการเข้าถึงรักษาโรคหายาก ถึงงบประมาณจะสูง แต่จำนวนผู้ป่วยมีน้อยราย ผลกระทบงบประมาณไม่สูงมาก อีกประการหนึ่ง โรคหายากจำเป็นต้องได้รับการรักษาไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตก่อนวัยอันควร

อีกความท้าทายสำคัญ คือ จำนวนแพทย์ด้านพันธุกรรม ซึ่งยังมีน้อยอยู่ ทั้งประเทศไทยมีเพียง 28 คน อยู่ภาคเหนือ 1 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 คน และนอกนั้นอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยปัญหาการเบิกจ่ายไม่ค่อยได้ เช่น ค่าตรวจยีนเบิกไม่ได้ ค่ายารักษาก็เบิกจ่ายไม่ได้ จึงไม่มีใครอยากเรียนสาขานี้ เพราะแพทย์ก็อยากให้คนไข้ได้เข้าถึงการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ยังมีผู้ป่วยโรคหายากอีกมากที่เข้าไม่ถึงระบบสุขภาพของสาธารณสุขไทย   

ศ.พญ. ดวงฤดี ฝากไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่า ทุกวันนี้ โรคหายากหรือโรคทางพันธุกรรมสามารถรักษาได้ และมีกรอบทิศทางที่ดำเนินการได้ การคัดกรองโรคจะทำให้ตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น ฉะนั้น จึงวอนขอให้ภาครัฐพิจารณาส่งเสริมการผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมเพิ่มเติม เพื่อบรรจุและส่งไปประจำยังเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไร คนไข้ก็สามารถเข้าถึงการรักษาเร็วเท่านั้น และยังเป็นประโยชน์ป้องกันโรคเกิดซ้ำอีกในครอบครัวซึ่งนับว่าคุ้มค่าอย่างยิ่งแก่ครอบครัว นอกจากนี้ ยังเสนอให้ภาครัฐพิจารณาปรับนโยบายเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณายา และงบประมาณ ให้เข้ากับบริบทของสังคมและสอดคล้องกับนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อเร่งผลักดันการเข้าถึงการรักษาโรคหายากที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและยั่งยืน 

 
 
 
 

 




สุขภาพ-ความงาม

SOLUX Clinic เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ตอกย้ำความสวยที่มีระดับ (พรีเมียม)
แพทย์ !!! เตือนสาว ๆ ยุคใหม่ “ซีสต์รังไข่ ..อันตรายกว่าที่คิด” ตัวการโรคร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง
โรคจิตหลงผิด ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ
หยุดชอปปิงไม่ได้ สัญญาณอันตรายของโรคเสพติดการชอปปิง
โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต
คนกรุงเทพฯ ติดอันดับโลก “Work ไร้ Balance” แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ ระวังเป็น "ภาวะสมองล้า" ไม่รู้ตัว! แนะหยุดโหมงาน-ปรับพฤติกรรมด่วน ก่อนเสี่ยงโรคอีกเพียบ
“เครียดลงกระเพาะ” โรคฮิตที่อย่ามองข้ามความเครียด คือ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย
เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็น”ฮ่องเต้ซินโดรม”
ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3