Debt deleveraging แบบใด เศรษฐกิจไทยจะไปต่อได้
ReadyPlanet.com
dot dot
Debt deleveraging แบบใด เศรษฐกิจไทยจะไปต่อได้

Debt deleveraging แบบใด เศรษฐกิจไทยจะไปต่อได้

 
 

KEY SUMMARY

กระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จะท้าทายกว่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

กระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP (Debt deleveraging) เป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยลดความเปราะบางทางการเงินให้แก่ภาคครัวเรือนจากการบรรเทาปัญหาหนี้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี กระบวนการลดหนี้ของไทยในระยะต่อไปจะเผชิญความท้าทายกว่าในอดีต เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำลงมาก ส่งผลให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวช้าไปด้วย ภาวะนี้ต่างจากในอดีตที่กระบวนการ Deleveraging เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีต่อเนื่อง การลดหนี้ครัวเรือนไทยในรอบนี้จึงเป็นเรื่องยากมากยิ่งขึ้น

Debt deleveraging เหมือนจะคืบหน้า แต่อาจไม่ช่วยปลดล็อกครัวเรือนจากปัญหาหนี้

แม้ตัวเลขสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยในภาพรวมจะลดลงต่อเนื่องในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2024 แต่ภาพที่ดูเหมือนจะคืบหน้านี้ เกิดขึ้นเพราะตัวเลขหนี้ครัวเรือนขยายตัวต่ำเป็นประวัติการณ์เป็นหลัก ตามความเสี่ยงของลูกหนี้รายย่อยที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ตัวเลข GDP ขยายตัวได้ต่ำ หากสถานการณ์ตัวเลขหนี้ครัวเรือนและตัวเลข GDP ไทยขยายตัวต่ำทั้งคู่ยังคงดำเนินต่อไป อาจเห็นผลลบต่อการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนในอนาคตตามมา ยิ่งจะทำให้การใช้คืนหนี้เดิมทำได้ยากขึ้น

ดังนั้น การที่เห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ลดลงต่อเนื่องมา 2 ไตรมาสติดกัน อาจไม่ใช่เครื่องชี้ที่ดีพอจะสรุปได้ว่า ครัวเรือนไทยเริ่มแก้ปัญหาหนี้ได้แล้ว แต่กระบวนการลดหนี้ที่จะเป็นประโยชน์แท้จริงต่อภาคครัวเรือนโดยรวม จะต้องช่วยลดภาระหนี้ในระดับแต่ละครัวเรือนได้ ผ่าน 2 แนวทาง คือ กระบวนการแก้หนี้เดิม จะต้องออกแบบให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้ต่างกัน และกลไกนโยบายเศรษฐกิจมหภาค จะต้องช่วยประคองเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวได้มากพอจะนำไปชำระหนี้เพื่อหลุดจากปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน

แนวทางปลดล็อกครัวเรือนจากปัญหาหนี้ และเอื้อให้เศรษฐกิจไทยยังไปต่อ
(1) กระบวนการแก้ไขหนี้เดิมต้องครอบคลุมและตอบโจทย์ครัวเรือนที่มีปัญหาต่างกัน

การสนับสนุนให้ครัวเรือนจัดการหนี้เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีกระบวนการแก้หนี้เดิมที่ครอบคลุมครัวเรือนที่กำลังมีปัญหาหนี้ให้ได้มากที่สุด ตอบโจทย์ปัญหาหนี้และความต้องการแก้หนี้ที่แตกต่างกันได้

(2) นโยบายเศรษฐกิจมหภาคต้องช่วยสนับสนุนให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวในอนาคต

การแก้หนี้เดิมของครัวเรือนให้ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งต้องอาศัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคช่วยประคองเศรษฐกิจโดยรวม เพื่อสนับสนุนให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวเพียงพอกับรายจ่าย ด้านนโยบายการคลังไทยเริ่มมีพื้นที่การคลังจำกัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเจาะจงครัวเรือนเปราะบาง ด้านนโยบายการเงินต้องเอื้อให้เกิดการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือน โดยสามารถผ่อนคลายเพิ่มได้ หากจำเป็นต้องลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำลงอีก จนกระทบความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนตามมา

 

“ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย เป็นหนึ่งในปัญหาเศรษฐกิจที่พูดถึงกันมาก โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดวิกฤต COVID-19 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงขึ้นเร็วและติดอันดับต้น ๆ ของโลก อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุด ณ ไตรมาส 2 ปี 2024 ชี้ว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ลดลงต่อเนื่องจากสิ้นปี 2023 ที่ 91.4% เหลือ 89.6% ต่ำสุดตั้งแต่เกิดวิกฤต COVID-19 จึงเริ่มมีคำถามว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ทยอยปรับลดลง หรือเรียกว่ากระบวนการ Debt deleveraging จะดำเนินต่อเนื่องได้หรือไม่ และสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยลดความกังวลขึ้นได้แล้วหรือยัง? SCB EIC ต้องการตอบคำถามที่ว่านี้ โดยวิเคราะห์กระบวนการ Debt deleveraging ของไทยในปัจจุบัน และเสนอแนวทางเพิ่มเติมเพื่อให้กระบวนการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนได้จริง

 

เศรษฐกิจไทยในวันที่ Debt deleveraging ท้าทายกว่าเดิม

หากย้อนพิจารณาพลวัตหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP พบว่า กระบวนการ Debt deleveraging เคยเกิดขึ้นมาแล้วอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ปี 2016 แต่มาสะดุดลงในช่วงวิกฤต COVID-19 ในช่วงนี้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อได้ตามปกติ ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยายตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยที่เติบโตในอัตราปานกลาง กระบวนการ Debt deleveraging ดำเนินมาต่อเนื่องได้อย่างช้า ๆ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ลดลงจาก ณ สิ้นปี 2015 ที่ 85.9% เหลือ 84.1% ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 แต่กระบวนการนี้ต้องหยุดชะงักลงจากการระบาด COVID-19 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 95.5% ณ ไตรมาส 1 ปี 2021

กระบวนการ Debt deleveraging เริ่มเกิดขึ้นใหม่หลังวิกฤตคลี่คลาย สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลงต่อเนื่องเหลือ 89.6% ในไตรมาส 2 ปี 2024 อย่างไรก็ดี สาเหตุที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลงจากไตรมาสแรก กลับมาจากยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่ Nominal GDP ยังขยายตัวต่ำ โดยในไตรมาส 2 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยายตัวเพียง 1.3%YOY ต่ำสุดตั้งแต่เริ่มเผยแพร่ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนที่รวมกลุ่มสถาบันการเงิน และ Non-bank ในปี 2013

การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์อาจดูไม่น่ากังวล หากเกิดจากการทยอยชำระคืนหนี้เดิมที่สอดคล้องกับการฟื้นตัวของรายได้ อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีหนี้และรายได้น้อย SCB EIC พบว่าภาคครัวเรือนยังมีความเปราะบางสูง โดยข้อมูลจากการสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ในปี 2023 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนไทยที่มีหนี้กำลังเผชิญปัญหาการเงินที่รุนแรงขึ้น สาเหตุหลักมาจาก ครัวเรือนกลุ่มรายได้ต่ำมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย เพราะมีปัญหารายได้ลดลงชัดเจนเทียบกับปี 2021 ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มรายได้ปานกลางเริ่มเผชิญปัญหารายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย (รวมสำหรับรายจ่ายชำระหนี้) มากขึ้น

นอกจากข้อมูลสำรวจระดับภาคครัวเรือนข้างต้น หากดูข้อมูลฝั่งผู้ให้กู้ก็พบว่า มาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์เข้มงวดขึ้นและอาจเข้มงวดมากขึ้นอีกในระยะข้างหน้า สะท้อนจากผลสำรวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อ (Credit conditions survey) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ยิ่งแสดงถึงความท้าทายในการเข้าถึงสินเชื่อใหม่

ภาพยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนต่อ Nominal GDP ลดลงที่เห็นจึงอาจเป็นผลจากการอนุมัติสินเชื่อใหม่ลดลงมากกว่าจะเป็นผลจากการชำระคืนหนี้เก่าได้มาก ดังนั้น กระบวนการ Debt deleveraging ที่เห็นในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 อาจกำลังสะท้อนว่า ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อใหม่ของครัวเรือนแย่ลง แต่ไม่ได้สะท้อนว่าความสามารถชำระหนี้ของครัวเรือนปรับดีขึ้น  

Debt deleveraging ของไทยเหมือนจะคืบหน้า แต่อาจไม่ช่วยปลดล็อกครัวเรือนจากปัญหาหนี้

กระบวนการ Debt deleveraging ของไทยในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่ามีความคืบหน้าในเชิง ปริมาณกล่าวคือ ตัวเลขสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ Nominal GDP ของไทยทยอยปรับลดลงได้แล้ว แต่หากพิจารณาถึงที่มาของการลดลงกลับพบว่า มาจากหนี้ครัวเรือนที่ขยายตัวลดลงมาก กระบวนการที่เห็นนี้จึงอาจไม่ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในท้ายที่สุด เราสามารถแยกพิจารณากระบวนการ Debt deleveraging ได้ 2 กรณี ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมแตกต่างกันมาก

 

กรณี 1 รายได้ในระบบเศรษฐกิจโตมาก หนี้เพิ่มขึ้นช้า หากเศรษฐกิจขยายตัวใกล้เคียงหรือเกินศักยภาพ  รายได้ครัวเรือนจะฟื้นตัว การปล่อยสินเชื่อครัวเรือนจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะครัวเรือนมีแนวโน้มจะสามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต กลไกนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง โดยหนี้ครัวเรือนที่เติบโตได้บ้าง จะช่วยประคับประคองการบริโภคและการลงทุนของภาคครัวเรือน และทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระบวนการ Debt deleveraging ในกรณีนี้จึงมีความสมดุล ช่วยให้ครัวเรือนสามารถฟื้นฟูฐานะการเงินตนเองได้ และเอื้อให้เศรษฐกิจไปต่อได้อย่างยั่งยืน

 

กรณี 2 รายได้ในระบบเศรษฐกิจโตช้า หนี้ลดลงมาก สะท้อนการลดหนี้ได้ในภาวะเศรษฐกิจเติบโตชะลอตัว หากภาวะเศรษฐกิจซบเซายังดำเนินต่อไปจนทำให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวช้าต่อเนื่อง สถาบันการเงินมีแนวโน้มจะยิ่งระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้ภาคครัวเรือน เพราะครัวเรือนบางส่วนยังมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ภาวะสินเชื่อหดตัวนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด ยิ่งทำให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวลดลงอีก[1] กลไกนี้จะเกิดเป็นวัฏจักรขาลง การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนในอนาคตจะทำได้ยากขึ้นในกรณี 2 นี้

สถานการณ์ Debt deleveraging ของไทยในปัจจุบันเริ่มคล้ายกรณีที่ 2 กระบวนการลดหนี้เกิดจากการลดลงของสินเชื่อมากกว่าการเติบโตของรายได้ เศรษฐกิจไทยอาจถูกแรงกดดันจากการปล่อยสินเชื่อที่ลดลง และนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ยังทำให้การปรับโครงสร้างหนี้เก่าเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนที่ไม่ได้มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน กระบวนการ Debt deleveraging ที่เกิดขึ้นจึงอาจไม่ได้สนับสนุนให้ภาคครัวเรือนมีความแข็งแกร่งได้มากขึ้นเท่าที่ควร

 

การสนับสนุนให้เกิด Debt deleveraging ที่ยั่งยืน และเอื้อให้เศรษฐกิจไทยไปต่อได้แบบกรณีที่ 2 ต้องอาศัย 1) นโยบายแก้ปัญหาหนี้เดิมในระดับครัวเรือน เพื่อลดหนี้ของแต่ละครัวเรือนโดยตรง ช่วยให้มั่นใจว่าแต่ละครัวเรือนมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ลดลง ฐานะงบดุลของครัวเรือนปรับดีขึ้น และ 2) นโยบายเศรษฐกิจมหภาคประคับประคองรายได้ เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ ตัดวงจรไหลลงของวัฏจักรหนี้และรายได้ในระบบเศรษฐกิจ

นโยบายแก้ปัญหาหนี้เดิมในระดับครัวเรือน ต้องครอบคลุมและตอบโจทย์

การลดภาระหนี้ระดับครัวเรือนจะช่วยให้ครัวเรือนมีฐานะการเงินมั่นคงขึ้น เพิ่มกำลังซื้อ และสร้างโอกาสให้ครัวเรือนสามารถวางแผนการออมและการลงทุนระยะยาวได้ดีขึ้น การออกแบบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้เดิมของครัวเรือนควรคำนึงถึง 2 มิติหลัก ได้แก่ “ความครอบคลุม” (Width) และ “ความลึก” (Depth)  

มิติความครอบคลุม (Width) มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้เดิมต้องออกแบบให้ช่วยเหลือครอบคลุมครัวเรือนทุกกลุ่มได้ รวมถึงครัวเรือนในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ หรือครัวเรือนที่ไม่มีประวัติเครดิตในระบบ มาตรการที่ครอบคลุม 3 ด้านนี้จะช่วยให้ครัวเรือนทุกระดับสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือและคำแนะนำทางการเงินที่จำเป็น

1.       เงื่อนไขโครงการ : ปัจจุบันมีโครงการแก้หนี้ครัวเรือนหลายโครงการ ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างกัน อาทิ สถานะลูกหนี้เป็นหนี้เสียแล้วหรือไม่ มีปัญหาหนี้อยู่ในระดับใด จึงต้องพิจารณาว่า ยังมีลูกหนี้กลุ่มใดที่ไม่เข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือ เพื่อให้ลูกหนี้มีทางเลือกเข้าสู่กระบวนการลดหนี้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน ทำงานนอกระบบ และเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบ การจัดโครงการสนับสนุนพิเศษหรือโครงการรองรับลูกหนี้กลุ่มนี้จะช่วยให้ปัญหาหนี้ไม่ขยายวงมากขึ้น

2.     ประเภทเจ้าหนี้ : การแก้ไขปัญหาหนี้จะต้องครอบคลุมเจ้าหนี้หลากหลายประเภทให้สอดคล้องกับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนไทย ซึ่งไม่ได้มีแค่หนี้กับสถาบันการเงินเท่านั้น ควรขยายขอบเขตไปถึงเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ การรวมเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาในระบบหรือจัดหาทางเลือกให้ผู้กู้หนี้นอกระบบเข้าถึงการปรับโครงสร้างหนี้ได้ จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยสูงและลดโอกาสเกิดการทบหนี้ในอนาคต

3.     การรับรู้และการเข้าถึง : ควรสร้างความรับรู้เกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้เข้าถึงได้ง่าย โดยใช้เครือข่ายทางสังคมและหน่วยงานท้องถิ่น การมีเครือข่ายช่วยดูแลความเป็นอยู่ทางการเงินให้คนในท้องถิ่น จะช่วยให้ลูกหนี้มีความไว้เนื้อเชื่อใจที่จะปรึกษาปัญหาทางการเงิน และสามารถส่งต่อเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือในส่วนกลางได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

มิติความลึก (Depth) การแก้ไขหนี้เดิมของครัวเรือนต้องตอบสนองความต้องการหลากหลายและความซับซ้อนของปัญหา ครัวเรือนอาจมีภาระหนี้จากหลายแหล่ง แต่ละประเภทหนี้ต้องการแนวทางการแก้หนี้ที่แตกต่างกัน การพัฒนาทางเลือกของนโยบายแก้หนี้ที่เจาะจงกลุ่มลูกหนี้หลากหลายจึงมีความสำคัญ พิจารณาได้ 3 ด้าน คือ

1.     ความเสี่ยงของลูกหนี้ รายได้ครัวเรือนแต่ละกลุ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวต่างกัน จึงควรมีกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับลักษณะของการฟื้นตัวของรายได้ที่แตกต่างกัน สำหรับครัวเรือนที่มีความเสี่ยงสูงและมีความสามารถชำระหนี้จำกัด ควรมีกลไกภาครัฐเข้ามาแบ่งรับความเสี่ยงเพิ่มเติมบางส่วน เนื่องจากลูกหนี้เหล่านี้มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่ภาคเอกชนจะสามารถแก้ปัญหาหนี้ให้ได้ในระยะยาว   

2.       ความซับซ้อนของปัญหาหนี้ ครัวเรือนบางกลุ่มอาจมีเจ้าหนี้หลายราย หรือมีหนี้หลายประเภท ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้นอกระบบ ปัญหาหนี้หลายประเภทต้องการการแก้ไขที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นในการจัดการความซับซ้อนเฉพาะกรณี นอกจากนี้ หากลูกหนี้มีหนี้กับเจ้าหนี้ภายใต้การกำกับดูแลต่างหน่วยงาน หรือไม่มีการกำกับดูแล จะทำให้ข้อมูลหนี้หลายแหล่งของลูกหนี้ไม่เชื่อมโยงกัน การช่วยเหลืออาจไม่ตรงเป้าหมาย จึงต้องบูรณาการผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้น

3.     ความรู้ความเข้าใจทางการเงิน ลูกหนี้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินไม่มากต้องการความช่วยเหลือในการตัดสินใจเลือกข้อเสนอแก้หนี้จากเจ้าหนี้หลายราย การมีผู้เชี่ยวชาญเป็นคนกลาง ให้คำปรึกษา และให้ความรู้ทางการเงินจะช่วยให้ลูกหนี้สามารถตัดสินใจแก้หนี้และมีความรู้ทางการเงินดีขึ้น

นโยบายเศรษฐกิจมหภาคช่วยประคับประคองให้ครัวเรือนมีรายได้และแก้หนี้เดิมได้

กระบวนการ Debt deleveraging แก้ปัญหาหนี้เดิมในระดับครัวเรือน จะต้องดำเนินการพร้อมนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ที่จะมาช่วยสนับสนุนให้ภาคครัวเรือนสามารถฟื้นฟูฐานะทางการเงิน (Balance sheet) ได้ ทั้งการสร้างสมดุลรายได้ รายจ่าย และภาระหนี้ ตลอดจนการบริหารกระแสเงินสดและการลงทุนทรัพย์สินอื่น ๆ (รูปที่ 6) เพื่อให้ครัวเรือนสามารถฟื้นตัวทางการเงินได้อย่างยั่งยืน

นโยบายเศรษฐกิจมหภาคจะมีบทบาทฟื้นฟูฐานะการเงินครัวเรือนผ่านหลายช่องทาง โดยในรายงาน IMF กล่าวถึงหลักการในการปรับโครงสร้างหนี้ที่ดี[2] ไว้ว่า นโยบายเศรษฐกิจมหภาคต้องมุ่งรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญเพื่อช่วยไม่ให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ซ้ำหลายครั้ง การออกนโยบายแก้ไขหนี้เดิมเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเข้าช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้อยู่ในสภาวะพร้อมรองรับการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการ Debt deleveraging เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคยังมีความสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นว่า ลูกหนี้จะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้อีกครั้งในอนาคต ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการปรับโครงสร้างหนี้เดิม นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของไทยสามารถสนับสนุนกระบวนการ Deleveraging ได้ดังนี้

นโยบายการคลังเจาะจงกลุ่มเปราะบาง ภายใต้ข้อจำกัดทางการคลัง :

นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจมาตั้งแต่ COVID-19 จนเริ่มมีข้อจำกัดทางการคลัง ตั้งแต่ช่วงการระบาด นโยบายการคลังช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจมาโดยตลอด ขนาดการขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงสูงขึ้นมากและอาจเข้าใกล้เพดานหนี้ใหม่ 70% ในระยะปานกลาง การขาดดุลการคลังสูงต่อเนื่อง อาจกระทบเสถียรภาพการคลัง และมีผลเสียต่อเสถียรภาพระบบการเงินตามมาได้ ในปัจจุบันนโยบายการคลังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มากเช่นเดิมแล้ว เพราะเริ่มเผชิญข้อจำกัดการคลังมากขึ้น การใช้มาตรการจึงควรเน้นไปที่การช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบปัญหาทางการเงินหรือกลุ่มเปราะบางเป็นหลัก โดยในระยะสั้น การสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของครัวเรือนเหล่านี้ จะช่วยลดภาระรายจ่ายที่ครัวเรือนต้องแบกรับ ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนมีความสามารถในการจัดการหนี้ได้ดีขึ้น ในระยะยาว การสร้าง Social safety net ให้แก่ครัวเรือนเปราะบางอย่างเป็นระบบจะช่วยสนับสนุนกระบวนการการแก้ไขปัญหาหนี้ได้มาก

นโยบายการเงินที่เหมาะสม จะช่วยสนับสนุน Debt deleveraging :

 

นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงบ้าง จะไม่ได้กระตุ้นการก่อหนี้เหมือนในอดีต หนึ่งในประเด็นสำคัญที่นโยบายการเงินไทยให้ความสำคัญคือระดับอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อต่อกระบวนการ Debt deleveraging โดยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไปอาจกระตุ้นการก่อหนี้ครัวเรือน ทำให้กระบวนการ Debt deleveraging ดำเนินไปได้ไม่ต่อเนื่อง แม้ในช่วงก่อน COVID-19 อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นให้ครัวเรือนก่อหนี้เพิ่มขึ้น แต่การผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มซบเซา สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ จึงอาจไม่ได้กระตุ้นการก่อหนี้ครัวเรือนดังเช่นในภาวะที่เศรษฐกิจร้อนแรง[3] เห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนที่เริ่มโตต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 และโตต่ำกว่า Trend มาระยะหนึ่งแล้ว (รูปที่ 7) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดขึ้นกว่าอดีตมาก

นอกจากนี้ ผลศึกษาในต่างประเทศพบว่า ในสภาวะที่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ครัวเรือนจะมุ่งเป้าไปที่การพยายามชำระหนี้เก่าของตนเองให้ลดลงมามากกว่าที่จะกู้หนี้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ก็ตาม[4] ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้เพื่อบรรเทาภาระหนี้ของครัวเรือน และประคับประคองเศรษฐกิจในภาพรวมให้เติบโตได้ จึงไม่ได้กระตุ้นการก่อหนี้ซึ่งจะเป็นการฉุดรั้งกระบวนการ Debt deleveraging

ในทางกลับกัน หากนโยบายการเงินตึงตัวเกินไป อาจทำให้กระบวนการลดหนี้ในระดับครัวเรือนทำได้น้อยลง ผลการศึกษาที่แบ่งเศรษฐกิจออกเป็นช่วง Leveraging (การเพิ่มหนี้) และ Deleveraging (การลดหนี้) ยังพบว่า หากนโยบายการเงินตึงตัวในช่วง Deleveraging และเศรษฐกิจมีหนี้สูงจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าและใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวเมื่อเทียบกับนโยบายตึงตัวในช่วง Leveraging ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตดีและการบริโภคยังคงขยายตัวได้[5]  การใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดในช่วง Deleveraging ยิ่งกดดันให้การลดภาระหนี้ครัวเรือนชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างยืดเยื้อทำให้การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนล่าช้า ครัวเรือนหลายครัวเรือนอาจประสบปัญหาทางการเงินมากขึ้น ก่อให้เกิดแรงกดดันการบริโภคและการชำระหนี้ตามมา

นโยบายการเงินไทยในปัจจุบันอาจตึงตัวเกินระดับเป็นกลางต่อเศรษฐกิจได้ หากมองว่าศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำลงมาก เนื่องจากศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวได้ปรับลดลงอย่างชัดเจน จากการประเมินของ SCB EIC ในปี 2024 พบว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 2.7% จากเดิมที่เคยอยู่ที่ 3.4% ในช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 อัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลาง (Neutral rate) ที่สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจ และระดับเงินเฟ้อในระยะยาว จึงมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงตามศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจ การคงไว้ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงกว่าในอดีต ขณะที่ศักยภาพเศรษฐกิจลดลง (รูปที่ 8) จึงทำให้นโยบายการเงินมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียสถานะของความเป็นกลาง (Neutral stance : ไม่กระตุ้นหรือชะลอเศรษฐกิจ) และเข้าสู่สถานะตึงตัว (Tight monetary policy) ในกรณีนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นการลดความเสี่ยงที่นโยบายการเงินจะเข้าสู่สถานะตึงตัว

ดังนั้น การชั่งน้ำหนักในการดำเนินนโยบายการเงินจึงควรให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงที่รายได้ครัวเรือนจะไม่ฟื้นตัวในอนาคต การดำเนินนโยบายการเงินผ่านมุมมองการจัดการความเสี่ยง (Risk management) ของกระบวนการ Debt deleveraging จึงต้องชั่งน้ำหนักความเสี่ยง 2 ประการที่จะทำให้กระบวนการดังกล่าวอาจสะดุดลง (รูปที่ 9) ได้แก่

(1)     ความเสี่ยงจากการก่อหนี้ใหม่จนทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ปรับสูงขึ้น นำไปสู่ปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรังในระยะยาว

(2)     ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจนทำให้ GDP เติบโตไม่เร็วพอที่จะทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลง ส่งผลให้การแก้ปัญหาหนี้ในปัจจุบันยิ่งท้าทายมากขึ้น

เมื่อพิจารณาถึงบริบทของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันตามที่กล่าวไป จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมีมากกว่าความเสี่ยงจากการก่อหนี้ใหม่อยู่มาก การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมจึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนในอนาคตผ่านการประคับประคองเศรษฐกิจไทยให้ผ่านช่วงความเสี่ยงสูง การประคับประคองเศรษฐกิจไทยนี้จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการสนับสนุนกระบวนการ Debt deleveraging ของภาคครัวเรือน โดยเมื่อครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นและมั่นคงขึ้น ความสามารถในการชำระหนี้และลดภาระหนี้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไป ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการลดหนี้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนและลดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ในท้ายที่สุด กระบวนการ Debt deleveraging ที่จะตอบโจทย์ครัวเรือนและทำให้เศรษฐกิจไทยไปต่อได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องมองให้กว้างไปกว่าการลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP หรือการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับครัวเรือน แต่ต้องให้ความสำคัญถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของครัวเรือนได้ นอกจากนี้ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัว เพราะการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนที่ยั่งยืนจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้ที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยมานานประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริงในท้ายที่สุด

 

บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/debt-deleveraging-211124

ผู้เขียนบทวิเคราะห์

นนท์ พฤกษ์ศิริ (nond.prueksiri@scb.co.th)

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ (poonyawat.sreesing@scb.co.th)

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

ก้องภพ วงศ์แก้ว (kongphop.wongkaew@scb.co.th)

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


MACROECONOMICS RESEARCH

ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ

รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC)

และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

 

ดร.ฐิติมา ชูเชิด

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค

ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

นนท์ พฤกษ์ศิริ

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

วิชาญ กุลาตี

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

ณฐพงศ์ ตันติจิรานนท์

นักเศรษฐศาสตร์

ปัณณ์ พัฒนศิริ

นักเศรษฐศาสตร์

ภาวัต แสวงสัตย์

นักเศรษฐศาสตร์



[1] เป็นวงจรที่มีความใกล้เคียงกับแนวคิดตัวเร่งทางการเงิน (Financial accelerator) ตามการศึกษาของ Bernanke, B. S., Gertler, M., & Gilchrist, S. (1999). The Financial Accelerator in a Quantitative Business Cycle Framework. โดยในบริบทของประเทศไทยซึ่งครัวเรือนจำนวนมากเป็นหนี้ที่ไม่ใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน อาจมองมูลค่าของสินทรัพย์ค้ำประกันดังกล่าวเป็นคาดการณ์รายได้ครัวเรือนในอนาคตแทนการคาดการณ์ว่ารายได้ครัวเรือนในระยะข้างหน้าไม่ฟื้นตัวอาจเทียบเท่าผลของการที่มูลค่าของสินทรัพย์ลดลง

[2] Laeven, L., & Laryea, T. (2009). Principles of Household Debt Restructuring (IMF Staff Position Note No. SPN/09/15). International Monetary Fund.

[3] สรา ชื่นโชคสันต์ & สุพริศร์ สุวรรณิก (2017) การ deleverage ของหนี้ภาคครัวเรือนไทย และนัยต่อเศรษฐกิจ (FOCUSED AND QUICK (FAQ) Issue No. 123). ธนาคารแห่งประเทศไทย

[4] Mian, A., Rao, K., & Sufi, A. (2013). Household balance sheets, consumption, and the economic slump. The Quarterly Journal of Economics, 128(4), 1687–1726.

[5] Harding, M., & Klein, M. (2019). Monetary Policy and Household Deleveraging: Evidence and Implications. Journal of Macroeconomics, 65, 123–135.

 
 
 
 

 




ขนส่ง/พลังงาน/สิ่งแวดล้อม

“พูลพิพัฒน์” ธุรกิจคลังสินค้าชั้นนำ ภายใต้กลุ่มพูลผล ผนึก ONNEX SOLAR by SCG พัฒนาพลังงานสะอาดเพื่ออนาคต ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน article
ปตท. จับมือ บีไอจี ลงนามความร่วมมือ เดินหน้าสร้างโรงแยกอากาศแห่งที่ 2 ใช้ประโยชน์ความเย็นจาก LNG ตอกย้ำความสำเร็จ MAP1 สู่ Net Zero article
GPSC ปลื้มฟิทช์ปรับแนวโน้มขึ้นเป็น ‘stable’ และคงอันดับเครดิต องค์กรในประเทศ “A+” และสากล “BBB-“ จากฟิทช์ เรทติ้ง สะท้อนศักยภาพการเงินที่มั่นคง การบริหารจัดการองค์กรมุ่งเติบโตยั่งยืน article
SHARGE โตติดสปีด ยอดผู้ใช้สถานีชาร์จ EV พุ่ง 4 เท่าตัว เปิดเกมรุกสั่งชาร์จข้ามค่ายในแอปเดียว เล็งขยายตลาดรถเชิงพาณิชย์รับเทรนด์อนาคต article
“บ้านปู” เปิดตัววิดีโอ “พลังงานที่สมดุล” สะท้อนความมุ่งมั่นสร้างพลังงานที่เสถียร ราคาเหมาะสม ดีต่อสิ่งแวดล้อม article
BPP เผย 5 เทรนด์อนาคตพลังงาน สร้างความมั่นคง-ลด CO₂ article
อินโดรามา เวนเจอร์ส จุดพลังเยาวชน “Hack the Island” สู่เวทีนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำเสนอผลงานจริงที่เกาะเต่า
สัมผัสประสบการณ์ชั้นประหยัดที่ดีที่สุดในโลก – พร้อมส่วนลดพิเศษในช่วงเวลาจำกัด คาเธ่ย์ แปซิฟิค มอบส่วนลดพิเศษ 4,200 บาท สำหรับบัตรโดยสารชั้นประหยัด สู่จุดหมายปลายทางทั่วโลก เฉลิมฉลองการคว้ารางวัล “ชั้นประหยัดที่ดีที่สุดในโลก” ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน
สหพัฒน์ จับมือ ราชพัฒนา เปิดตัวโครงการ Solar Floating ริมรันเวย์สนามบิน ใน 4 สวนอุตสาหกรรม
วว. ร่วมมือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยพัฒนาพลังงานสะอาด นวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่
GPSC กวาด 7 รางวัล Finance Asia Awards 2025 การันตีบริษัทพลังงานหมุนเวียนชั้นนำ ผู้นำนวัตกรรมพลังงานเพื่อความยั่งยืน
AIKO ตอกย้ำผู้นำนวัตกรรมที่ ASEW 2025 มุ่งยุคใหม่ของพลังงานสะอาด แบรนด์โซลาร์ชั้นนำระดับโลก ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมในงาน ASIA Sustainable Energy Week 2025 (ASEW) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่
ลาลามูฟ ชู “เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม” ทางเลือกใหม่สร้างรายได้ในยุคดิจิทัล ลาลามูฟเผยผลสำรวจจากพาร์ทเนอร์คนขับทั่วโลก 75% เริ่มเข้าร่วมเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัว แ
"ฝนหลวง" นวัตกรรมแห่งน้ำพระทัย ที่สร้างมูลค่าเหนือเงินทอง
GPSC คว้า 5 รางวัล Asian Excellence Award 9 ปีซ้อน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานระดับเอเชีย
“จระเข้” ตอกย้ำผู้นำวงการก่อสร้างสีเขียว คว้ารางวัล “Asia Responsible Enterprise Awards 2025” สาขา “Green Leadership” จาก “Jorakay Green Earth” ชูความสำเร็จในการ ปลูกป่าชายเลน-วัดผลอย่างเป็นระบบ ปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนในทุกมิติ
“ไลอ้อน ประเทศไทย หัวใจกรีน” ได้รับการรับรอง Carbon Offset และ Carbon Footprint ตอกย้ำพันธกิจสู่ Net Zero ด้วยพลังงานสะอาด
หัวเว่ยจับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดตัวโซลูชัน IDS พลิกโฉมระบบพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะยุคดิจิทัล
เปิดแล้ว งานมหกรรมพลังงานยั่งยืนแห่งเอเชีย “ASIA Sustainable Energy Week 2025” หนุนไทยก้าวสู่ศูนย์กลางพลังงานสะอาดของภูมิภาค
Hitachi Energy ตอกย้ำความแข็งแกร่งภายใต้ One Hitachi ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์พลังงานยั่งยืน
GPSC เปิดแผนศึกษา SMR เทคโนโลยี Gen IV ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ภาคการผลิต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions
Solis เตรียมเปิดตัวโซลูชันอินเวอร์เตอร์รุ่นล่าสุด พร้อมแนะนำเทคโนโลยี AI ล่าสุดในงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2025
BAM เดินหน้าปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทรัพย์ NPA ผ่านโครงการ “BAM CARE” รุกสร้างพื้นที่สีเขียว อย่างยั่งยืนใน 3 จังหวัด ตอกย้ำพันธกิจ ESG เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
สวพส. จัดการน้ำบนพื้นที่สูง…เปลี่ยนชีวิตชุมชน…สู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน
DMS ผนึก IZOMAX นำเข้าเทคโนโลยี AOGV จากนอร์เวย์ ให้บริการครั้งแรกใน Southeast Asia
“THAICID” ขับเคลื่อนงานชลประทาน เตรียมพร้อมประเทศไทย รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก article
สายการบินสตาร์ลักซ์สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส A350-1000 เพิ่มเติมอีก 10 ลำ
แอร์บัสจับมือสิงคโปร์ ศึกษาการทำภาระกิจร่วมกันระหว่างอากาศยานที่มีนักบินและไร้นักบิน ด้วยเฮลิคอปเตอร์ H225M
พรีโม จับมือ แชมเปี้ยน ผุดแคมเปญ “พรีโมทิ้งให้ถูก แยกขยะต้องถุงขยะแชมเปี้ยน” ร่วมผลักดัน โครงการ ของ กทม. “บ้านนี้ไม่เทรวม” เพื่อจัดการขยะอย่างยั่งยืน
เชฟรอนเข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึก ในฐานะผู้บริจาคเงินบำรุงสภากาชาดไทย
PTG ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ขยับขึ้นสู่อันดับที่ 48 ในระดับภูมิภาค สะท้อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของ PTG
สอน. ดึงโดรน – AI วิเคราะห์ไร่อ้อย จ.อุดรธานี ลดต้นทุน – แก้ PM2.5 – ยกระดับการผลิตอุตฯ อ้อยและน้ำตาลไทย
เจแปนแอร์ไลน์ แท็กทีมนักแสดงหนุ่มสุดฮอต “เก้า - นพเก้า” เตรียมเนรมิตขบวนไพรด์พาเหรดสุดอลัง ในธีม “Journey on the Rainbow Sky” ร่วมงาน “LOVE PRIDE PARADE BANGKOK 2025” เส้นทางถนนพระราม 1 ตั้งแต่สนามกีฬาแห่งชาติไปจนถึงเอ็มสเฟียร์ 29 มิ.ย. นี้!
ทรินาสตอเรจ ขับเคลื่อนระบบกักเก็บพลังงานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในออสเตรเลียใต้ ด้วยโซลูชั่นที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ได้รับเงินทุน 460 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จับมือ กระทรวงพลังงาน พร้อมเครือข่ายด้านพลังงาน พร้อมจัดงาน ASIA Sustainable Energy Week 2025 หนุนไทยก้าวสู่ศูนย์กลางพลังงานสะอาดของภูมิภาค
แสนสิริ ผุดโปรเจกต์ “Future Harvest” นำร่องผลักดันปลูกกาแฟพันธุ์ดี ลดฝุ่นพิษ - เพิ่มรายได้ หวังเป็นโมเดลต้นแบบเกษตรยั่งยืนเชียงใหม่
DEXON ยกทัพนวัตกรรมโชว์ศักยภาพงานตรวจสอบระดับสากล ในงาน mai FORUM 2025
ปตท.สผ. ครบรอบ 40 ปี ภูมิใจภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ส่งเพลง “พลังของพลัง” ผ่านศิลปิน ตูน อาทิวราห์-แอลลี่ ถ่ายทอดพลังให้กับทุกพลัง
S&P รับมอบโล่เกียรติคุณองค์กรส่งเสริมการลด-เลิกการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) ในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2568
TCMA ผลักดันวาระสำคัญ ‘น้ำ’ มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพใช้งาน สร้างมูลค่า เพิ่ม GDP ประเทศ
กรีน ไททันรุกตลาดพลังงานสะอาด ติดตั้งโซลาร์เซลล์ – EV Station ครบวงจร พร้อมบริการที่ปรึกษาด้าน ESG
กฟภ. และ แกร็บ ประเทศไทย ร่วมลงนาม MOU ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเสริมประสิทธิภาพการทำงาน
SJWD ปรับใหญ่ธุรกิจ Freight เพิ่มศักยภาพเติบโต ทรานส์ฟอร์ม ‘เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี เฟรท’ สู่ ผู้ให้บริการนำเข้า-ส่งออกระหว่างประเทศขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ขึ้นแท่นผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายแรกในไทยที่คว้าสิทธิเป็นผู้ให้บริการ NSP
เทศกาลสภาพภูมิอากาศใหม่ของกรุงเทพฯ กระตุ้นการดำเนินการร่วมกันในสังคมไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความครอบคลุมมากขึ้น Bangkok Climate Action Week (BKKCAW) จะเป็นพื้นที่ของพลเมือง นักสร้างสรรค์และผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงทา
“เดอะ สตรีท รัชดา” และ “ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์” จับมือองค์กรพันธมิตร จัดกิจกรรม ‘Big Cleaning Day 2025’ รับวันสิ่งแวดล้อมโลก
เด็กซ์ซอนเปิดตัวเทคโนโลยี PA-CAT™ นวัตกรรมปฏิวัติการตรวจสอบการสึกกร่อนที่บริเวณจุดค้ำยันท่อส่งปิโตรเลียม
คาร์บอนลด โลกยิ้ม “ไลอ้อน ประเทศไทย” คว้า 2 รางวัล Golden Award จากเวที Thailand-Japan Decarbonization Award ครั้งที่ 1
คาลเท็กซ์ ดันธุรกิจนอนออยล์ สานต่อความร่วมมือกับ สมาคมแฟรนไชส์ฯ ขยายร้านค้าปลีกเพิ่มในสถานีบริการน้ำมัน
DEXON ร่วมภารกิจตรวจสอบเรือ ขนส่งน้ำมันก่อนส่งมอบ
SPCG ตอกย้ำความสำเร็จร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น ร่วมเปิดโครงการ Kagoshima Oura Mega Solar กำลังการผลิต 8.02 MW เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ
GPSC เร่งพัฒนาพลังงานสีเขียว ตามโรดแมป Decarbonization พร้อมศึกษานวัตกรรมพลังงาน รับเกณฑ์การค้าโลกเปลี่ยน
DEXON คว้างาน Risk-Based Inspection โรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่
หัวเว่ยส่งมอบโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะให้บ้านไทยกว่า 80,000 หลัง ช่วยประหยัดค่าไฟสูงสุดถึง 70% ตั้งแต่วันแรก
ไทท้า จับมือ ม.มหิดล และกรมวิชาการเกษตร เปิดตัว “AG Health Volunteer”ดึงพลัง อกม. – อสม. ถ่ายทอดความรู้สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากภาคเกษตร สู่ชุมชนระดับฐานรากสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทย
Maxim สนับสนุนค่าน้ำมันให้กับคนขับยอดเยี่ยม ในจังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง
กรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับพันธมิตร เปิดพื้นที่สาธารณะ ‎ร่วมจุดประกายการเปลี่ยนแปลงในเทศกาล BKKCAW 2025 ‎ จากการขับเคลื่อนรายบุคคลสู่พลังกลุ่ม: กรุงเทพมหานครจะเป็นสถานที่จัดงานสัปดาห์ภูมิอากาศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 1
อินฟอร์มาฯ - จุฬาฯ - EBARA และเครือข่ายด้านน้ำ ร่วมจัดงาน "Thai Water Expo และ Water Forum 2025" ขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการน้ำของภูมิภาค
DITP เสริมแผนจราจร–รถไฟฟ้า–จุดจอดรถ รับงาน “THAIFEX – ANUGA ASIA 2025” แนะใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ลงสถานี “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” และ “ทะเลสาบเมืองทองธานี” เชื่อมต่อสะดวก ถึงพื้นที่งานได้อย่างรวดเร็ว
EnergyLIB ร่วมมือกับ ICBCTL มอบสินเชื่อระบบโซลาร์เซลล์ เพิ่มการเข้าถึงพลังงานสะอาดให้ครัวเรือนไทย
DEXON ขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสะอาด ตรวจสอบท่อไฮโดรเจนเฟสแรกในฝรั่งเศสสำเร็จ
GPSC ศึกษาดูงาน SMR สาธารณรัฐเกาหลี เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง พร้อมสร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้า
เวิลด์แก๊ส มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหาร ผนึก ททท. จัดงาน “The Best Thai Street Food By Worldgas” ขับเคลื่อน Soft Power ไทยผ่านสตรีทฟู้ด สู่สายตานานาชาติ ปักหมุดเมืองไทย เป็น “เมืองหลวงแห่งสตรีทฟู้ดโลก” ระดับโลก
“Forest Guardians Dinner Talk” ผนึกพลังภาคี สร้างโมเดลใหม่แก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่น PM 2.5 ด้วยนวัตกรรมการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม
PRM มาแรง! โชว์กำไร Q1/68 พุ่ง 769.4 ล้านบาท โต 30.7% เรือใหม่เข้างานครบ เสริมด้วยกำไรพิเศษจากการขายเรือ
สกาย กรุ๊ป (SKY) โชว์ผลงานแรงไม่หยุด Q1/2568 ทำ New High ต่อเนื่อง รายได้ทะลุ 2,384 ลบ. โกยกำไร 205 ลบ. ตุนแบ็กล็อก 22,015 ลบ. เสริมแกร่งเติบโตอย่างมั่นคง
กระทรวง อว. ผนึกกำลัง สอวช. เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 ดันเทคโนโลยีสู้วิกฤตภูมิอากาศ
เชฟรอน – มูลนิธิเอไอพี – ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดสงขลา รณรงค์เดินเท้าปลอดภัย ในสัปดาห์ความปลอดภัยทางถนนแห่งสหประชาชาติ
SPCG ประกาศผลงานไตรมาส 1/68 ทำกำไรสุทธิ 139.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.19% จากไตรมาสก่อน มุ่งเน้นประสิทธิภาพผลิตไฟฟ้า สร้างผลการดำเนินงานที่ดีและตอกย้ำฐานะการเงินแข็งแกร่ง
GPSC ศึกษาดูงาน DOOSAN สาธารณรัฐเกาหลี ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาโซลูชั่น พลังงานปลอดคาร์บอนฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า
ซินเน็คฯ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการ LESS ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เดินหน้าผลักดันแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บ้านปู เชื่อมโยง “รัฐ-เอกชน-การศึกษา” เปิดเวทีสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ในงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล” รับ 20 ปีค่ายเพาเวอร์กรีน
การบินไทยประกาศผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2568 สะท้อนเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง เดินหน้าออกจากการฟื้นฟูกิจการ พร้อมกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
สกู๊ตเพิ่มเที่ยวบิน พร้อมตอบโจทย์ความต้องการนักเดินทางที่พุ่งสูงขึ้น
‘EnergyLIB’ คว้า ‘ใบเฟิร์น’ ขึ้นแท่นพรีเซ็นเตอร์ เจาะตลาดใหม่ ‘LIB Solar Townhome’
เปิดตัวสำนักงานขาย 'Emirates World’ แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ ยกระดับสำนักงานขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
GPSC รับรู้มูลค่าเงินลงทุนจากการขายหุ้น AEPL 3.03% ยังคงมุ่งมั่นขยายธุรกิจพลังงานสะอาด
เฟดเอ็กซ์ เปิดตัวโซลูชัน FedEx Surround® Monitoring and Intervention ในประเทศไทย เพื่อยกระดับความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก ติดตามสถานะการขนส่งแบบเรียลไทม์และแดชบอร์ดที่ขับเคลื่อนด้วย AI มอบประสบการณ์ใหม่ในการบริหารจัดการ และยกระดับการควบคุม ที่เ
GPSC ศึกษาดูงาน SMR ประเทศจีน เดินหน้าแผนลดคาร์บอนฯ ภาคการผลิต ตอบโจทย์พลังงานสะอาด
AOT จัดโชว์เคสพื้นที่ทำเลทอง 28,800 ล้านบาท ดึงเอกชนลงทุนปั้นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่รอบสนามบิน
เมื่อ 'นวัตกรรมกรีน' คือ 'ทางรอด' เอสซีจี นำเวที INTERCEM Asia 2025 งานประชุมผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องในเชนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับโลก ปฏิวัติวงการปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ
นักวิจัย จุฬาฯ พัฒนา “ปะการังสู้โลกร้อน” เพื่อทางรอดระบบนิเวศทางทะเล
อบก. จับมือ กกท. ลงนาม MOU ร่วมรณรงค์ลดก๊าซเรือนกระจก ดันกิจกรรมด้านกีฬาสู่รูปแบบ Carbon Neutral Event ผ่าน 4 องค์กรกีฬา
ลาลามูฟเดินหน้าขยายธุรกิจสู่พัทยา หลังสร้างเครือข่ายผู้ใช้งานและพาร์ทเนอร์คนขับในชลบุรี ประกาศวิสัยทัศน์สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นและผู้ประกอบการไทย
AOT จัดโชว์เคสพื้นที่ทำเลทอง 28,800 ล้านบาท ดึงเอกชนลงทุนปั้นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่รอบสนามบิน
♦️‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ ชูกลยุทธ์ Customer First หนุนระบบนิเวศลดคาร์บอนทั่วโลก 679 ล้านตัน
การบินไทยจัดงาน “รักคุณเท่าฟ้า 2568” ฉลองครบรอบ 65 ปี มอบประสบการณ์เหนือระดับพร้อมข้อเสนอสุดพิเศษมากมาย 24 – 27 เม.ย. นี้ ตอกย้ำความเชื่อมั่นและความพร้อมสู่อนาคต
KEX เสริมศักยภาพการจัดส่งผลไม้ ด้วยการขยายบริการแบบครบวงจร
ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ บิท จับมือ วรุณา สนับสนุนป่าไม้ไทยสู่ความยั่งยืน ร่วมเดินหน้าโครงการนำร่องคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้
“มทร.ล้านนา” ประเมินความเสียหาย พร้อมจัดทำคู่มือข้อปฏิบัติรับมือแผ่นดินไหว
SCGC เปิดตัวโซลูชันใหม่ “CHILLOX” ช่วยประหยัดพลังงาน ยกระดับคลังสินค้าห้องเย็น มาตรฐานใหม่ครั้งแรกในไทย ล่าสุด ผนึก SCGJWD นำร่องใช้งานจริง มุ่งสู่ Green Logistics
เป๊ปซี่® จับมือ S2O สาดความมันส์ซ่าชุ่มฉ่ำแบบรักษ์โลก ชวนเหล่า Gen Z สนุกอย่างรับผิดชอบ ร่วมคัดแยกขยะผ่านแคมเปญ “มันส์ แล้ว ทิ้ง” ในงาน Pepsi® presents S2O Songkran Music Festival 2025 เครื่องดื่มเป๊ปซี่® โดย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเว
ผู้ถือหุ้นการบินไทยอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ พร้อมเดินหน้ายื่นคำร้องเพื่อยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ตั้งเป้าหมายกลับเข้าเทรด SET ภายในเดือนกรกฎาคมของปีนี้
SKY ICT รุกขยายให้บริการระบบเทคโนโลยี Airport & Passenger Service 13 สนามบินทั่วไทย ตอกย้ำความเป็นเบอร์หนึ่งด้าน Aviation Tech พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวไฮซีซั่น
WSOL ส่ง SABUY Speed จับมือ Flash Express เสริมทัพ 3 บริการใหม่ ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
"กะละแมโบราณนครพนม" จากขนมพื้นบ้านสู่โมเดลธุรกิจที่เชื่อมโยงคน ชุมชน และตลาด
สมุนไพรไทย หงส์ไทย รับประกาศนียบัตร “Climate Action Leaders Recognition” เวทีผู้นำความยั่งยืน ด้านการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
แอสคอทท์ ประเทศไทย ยกระดับมาตรฐานการบริการที่ยั่งยืน ด้วยใบรับรอง GSTC
โฮมโปร จับมือ มาซูม่า เปิดตัว "เครื่องทำน้ำอุ่นรักษ์โลกจากพลาสติกหมุนเวียน" ดันเทรนด์ “ไลฟ์สไตล์ใหม่ ใส่ใจโลก” ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน
ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ร่วมเป็น Guest Speaker ในงาน Shaping a Cooler Bangkok เวทีสำคัญเพื่ออนาคตเมืองที่เย็นขึ้น





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3