“เอบีม คอนซัลติ้ง” ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพิ่ม ROIC (Return on Invested Capital) หรือ ROIC Management โดยสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้บริหารจำนวน 721 ท่าน จากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่มียอดขายตั้งแต่สามหมื่นล้านเยนขึ้นไป (ราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจครอบคลุมผู้ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่หลากหลายด้านด้วยกัน เช่น การวางแผนกลยุทธ์องค์กร การบัญชี การเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ การสำรวจครั้งนี้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ROIC รวมถึงบทบาทของการทรานส์ฟอร์มองค์กรในประเทศญี่ปุ่น เผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริหารจัดการ ROIC และผลลัพธ์ในการเพิ่มมูลค่าให้องค์กร
ผลการสำรวจชี้ให้เห็น ว่า บริษัทในระดับ “บลูชิพ” ซึ่งหมายถึงบริษัทที่มีอัตราส่วนมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (price-to-book หรือ P/B ratio) ตั้งแต่ 1.3 ขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการจำหน่ายหน่วยธุรกิจ (BU) ออกจาก Portfolio มีแนวโน้มที่จะใช้ ROIC และตัวชี้วัดการเติบโตแบบต่างๆ เช่น อัตราการเติบโตของยอดขายและการเติบโตของมูลค่าตลาด ในการประเมินและตัดสินใจทางธุรกิจ ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยน Portfolio รวมถึงการถอนตัวจากธุรกิจที่ไม่สร้างคุณค่า นอกจากนี้ มูลค่าของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีดิจิทัล ยังถูกนำมาประกอบการพิจารณาในการจัดการและประเมิน Business Portfolio ขององค์กรอีกด้วย
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในความพยายามที่จะเพิ่มค่า ROIC พบว่า 64.6% ของบริษัทในกลุ่มบลูชิพมีการตั้ง KPI เฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจอย่างชัดเจน พร้อมระบุผู้ที่รับผิดชอบแต่ละ KPI และมีการประเมินผลตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ในทางกลับกัน บริษัทที่อยู่ในกลุ่ม “ควรปรับปรุง” (หมายถึงบริษัทที่มี P/B ratio ต่ำกว่า 1.3 และไม่มีประวัติการถอนหรือจำหน่ายหน่วยธุรกิจ) มีเพียง 6.4% เท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอยู่ถึงเกือบสิบเท่าระหว่างบริษัทสองกลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจในด้านแนวทางการตั้งและบริหาร KPI
ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Data Infrastructure) พบว่า กว่าครึ่งของบริษัทในกลุ่มบลูชิพหรือร้อยละ 52.2% สามารถพัฒนากระบวนการจัดการและสื่อสารข้อมูลในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่กลุ่ม “ควรปรับปรุง” มีเพียง 16.7% เท่านั้นที่ดำเนินการได้ในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ ราวครึ่งหนึ่งของบริษัทในกลุ่มบลูชิพหรือ 46.4% ได้จัดตั้งระบบและทีมงานเฉพาะทางที่สนับสนุนการบริหารจัดการและวิเคราะห์ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) ที่มีบทบาทสำคัญในการวางแผนงบประมาณและวิเคราะห์การเงิน และ BICC (Business Intelligence Competency Center) ที่เป็นศูนย์กลางในการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ
ในทางตรงกันข้าม บริษัทในกลุ่ม “ควรปรับปรุง” มีเพียง 5.9% เท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่ากุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน คือ การกำหนดทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่าง สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible asset) เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา และ Digital Portfolio กับกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจ รวมถึงการทำความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ทรัพยากรเหล่านี้ส่งผลต่อผลประกอบการขององค์กรอย่างไร ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า คะแนนในด้านนี้ของบริษัทกลุ่มบลูชิพ และบริษัทกลุ่มควรปรับปรุงมีความแตกต่างกันถึง 30%
จากประสบการณ์อันยาวนานของบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง พบว่ามีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการ ROIC สามารถขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ :
1. การใช้ตัวชี้วัดจากหลากหลายมิติ ทั้งข้อมูลเชิงรูปธรรมและนามธรรมมาใช้เพื่อพิจารณาและปรับปรุง Portfolio ข้อมูลเชิงรูปธรรม เช่น ROIC และตัวเลขชี้วัดการเติบโตของมูลค่าตลาด รวมถึงข้อมูลเชิงนามธรรมอย่างทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรมนุษย์ และศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ต่างมีความสำคัญเทียบเท่ากันในการวิเคราะห์และบริหาร Portfolio ขององค์กร การพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ประกอบกันอย่างรอบด้าน นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่พบได้บ่อย เช่น การปรับลดงบประมาณอย่างไม่สมเหตุสมผลอันเกิดจากมุมมองระยะสั้น ยังสามารถช่วยสนับสนุนให้บริษัทวางแผนการเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
2. การสร้างระบบ PDCA ที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจควบคู่ไปกับ KPI ที่เสริมกัน
การสร้างกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในองค์กรให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละบริษัทจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละธุรกิจเป็นสำคัญ นอกจากนี้ การเชื่อมโยง KPI กับการประเมินผลการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน จะช่วยให้การบริหารจัดการ ROIC กลายเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ถูกบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติงานประจำวันของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น
3. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) และฟังก์ชันสนับสนุนที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
การสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) ที่มีความมั่นคงพร้อมทั้งพัฒนาระบบและมีทีมงานที่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) สำหรับการวางแผนงบประมาณธุรกิจและการวิเคราะห์ทางการเงิน และ BICC (Business Intelligence Competency Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการสร้างเสริมสมรรถนะธุรกิจ ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการ ROIC ให้ประสบผลสำเร็จ การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างเหล่านี้ ช่วยเสริมความสามารถในการ
บูรณาการฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นฐาน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งภายในระดับหน่วยงานและองค์กรโดยรวม
4. การลงทุนเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรที่เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) และประเมินผลที่มีต่อผลการดำเนินการทางธุรกิจให้ชัดเจน
การลงทุนสร้างสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา และ Portfolio ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ควรถูกวางให้สอดคล้องและส่งเสริมกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น การประเมินและวิเคราะห์อย่างโปร่งใสว่าทรัพยากรดังกล่าวมีผลทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในกลยุทธ์ ทิศทางการเติบโตขององค์กร และความคาดหวังเชิงบวกต่อการพัฒนาขององค์กรในอนาคตอย่างยั่งยืนอีกด้วย
จากการสำรวจที่เราได้จัดทำขึ้น เอบีม คอนซัลติ้ง มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการผ่านบริการ “Evolving ROIC Management Implementation Support Service” ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเราที่ครอบคลุมความต้องการหลากหลายด้านที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการ ROIC อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวิเคราะห์เพื่อค้นหา Business Portfolio ที่เหมาะสมที่สุด ผ่านการผสานข้อมูลชี้วัดการเติบโตทางธุรกิจ และมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) การตั้งและปรับปรุง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ ประกอบกับการสนับสนุนการประเมินผลที่ยึดพื้นฐานของผลงานจริง
เอบีม คอนซัลติ้ง มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลและระบบงาน รวมไปถึงการจัดตั้งทีมที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) และ BICC (Business Intelligence Competency Center) ไปจนถึงการสนับสนุนการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล และการดำเนินงานขององค์กร เราให้ความสำคัญกับการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบบริหารการจัดการ และการลงทุนที่มีความสอดคล้องกันในภาพรวมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพยากรดิจิทัล ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ บริการด้าน Digital ESG ของเรายังสามารถสนับสนุนกระบวนการ Visualization หรือการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะสำหรับข้อมูลประกอบอื่นๆ (Non-financial Information) ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญสำหรับรายงานในรูปแบบ Integrated Report และการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อสื่อสารเป้าหมายการเติบโตทั้งต่อนักลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในองค์กร
|