มุมองจากผู้บริหารแสนสิริต่อภาคอสังหาฯ ปัจจุบัน ภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ ประธานผู้บริหารสายงานกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
ReadyPlanet.com
dot dot
มุมองจากผู้บริหารแสนสิริต่อภาคอสังหาฯ ปัจจุบัน ภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ ประธานผู้บริหารสายงานกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

มุมองจากผู้บริหารแสนสิริต่อภาคอสังหาฯ ปัจจุบัน

ภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ ประธานผู้บริหารสายงานกลยุทธ์

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

 
 

จากการที่รัฐบาลประกาศลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองลงเหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ไปจนถึงกลางปีหน้านั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะจะช่วยลดต้นทุนในการซื้อที่อยู่อาศัย และเมื่อรวมกับอีก มาตรการคือการผ่อนคลาย LTV ที่ทาง ธปท. ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ ก็ดูเหมือนว่าน่าจะช่วยทำให้ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์กลับมาเติบโตได้ เพราะเป็นเครื่องมือที่เคยใช้ประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนไปมาก โดยส่วนตัวคิดว่าคงไม่น่าจะส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาพลิกฟื้นได้มากนัก เนื่องจากมาตรการที่ออกมานั้น ประกาศออกมาหรือมีการบังคับใช้ช้าเกินไป เป็นมาตรการแบบ Reactive ไม่ใช่ Proactive เพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นสัญญาณเชิงลบมา 1 ปีแล้ว ห่วงโซอุปทานต่างๆ ได้รับผลกระทบและบอบช้ำไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนในความพยายามทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพราะมาช้ายังดีกว่าไม่มา 

เนื่องจากปัญหาปัจจุบันของภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่กำลังซื้อ ซึ่งติดกับดักหนี้ครัวเรือนอยู่ กล่าวคือ ถ้า GDP ไม่เติบโต กำลังซื้อก็จะไม่กลับมา จึงคาดการณ์ว่ามาตรการที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นมากนัก และถ้าถามว่าวันนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ต้องการอะไร เราคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เราต้องการให้กำลังซื้อของประชาชนมีมากขึ้น แล้วประชาชนจะมีกำลังซื้อได้อย่างไร คำตอบคือ ธนาคารต้องปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เศรษฐกิจจะไม่เติบโตถ้าสินเชื่อไม่เติบโต จริงอยูที่เรากังวลเรื่องหนี้ครัวเรือน ซึ่งหนี้สินจากที่อยู่อาศัยถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด แต่การที่หนี้สินจากที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนมากที่สุดนั้นไม่อยากให้มองว่าเป็น สาเหตุ ในการทำให้ประชาชนเป็นหนี้ เพราะที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ และที่สำคัญ หนี้สินจากที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนต้องการ และนอกจากนี้ที่มูลค่าหลักประกันของที่อยู่อาศัยไม่ได้ลดลงเหมือนสินค้าหรือหนี้ประเภทอื่นๆ ดังนั้นถ้ามีการเพิ่มเป้าหมายให้แต่ละธนาคารปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ได้เพิ่มอีก 10% ในปีนี้ จะเป็นมาตรการที่ดีมาก ที่ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่หดตัวไปมากกว่านี้ ที่สำคัญต้องทำควบคู่ไปกับการลดดอกเบี้ย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ทาง ธปท. ก็ได้มีการประกาศลดดอกเบี้ยมาครั้งหนึ่งแล้วในตอนต้นปี แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างๆ ก็ยังลดลงไม่มาก หวังว่าช่วงนี้คงต้องเป็นช่วงเวลาที่องค์กรที่มีความแข็งแรง เช่น ธนาคารพาณิชย์ที่ผลประกอบการในปีที่ผ่านมาต่างมีกำไรที่เติบโตกันถ้วนหน้า ต้องช่วยเหลือภาคส่วนต่างๆ ในสังคมให้มากขึ้น เพื่อให้ประเทศและเศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการลด Spread ระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากให้แคบลง หรือปรับมาตรการบางอย่างให้เข้มข้นน้อยลง เพื่อผ่อนคลายการปล่อยสินเชื่อ เป็นต้น 

และล่าสุดจากมาตรการ การขึ้นภาษีของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรั้มป์ ที่ตั้งกำแพงภาษี 36% สำหรับสินค้าส่งออกของไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบโดยตรงกับ GDP ของประเทศไทยทันที เนื่องจาก 70% ของ GDP เรามาจากการส่งออก และประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย สิ่งที่ตามคือ กำลังซื้อของคนในประเทศจะยิ่งลดลงไปอีก ซึ่งจะกระทบกับธุรกิจทุกภาคส่วนไม่ใช่แค่ภาคอสังหาริมทรัพย์ และถ้าดูองค์ประกอบหลักๆของ GDP ไทย ซึ่งประกอบด้วย 1. ดุลการค้าระหว่างประเทศ (ส่งออก-นำเข้า) 2. การใช้จ่ายของรัฐบาล 3. การลงทุน และ 4. การบริโภคในประเทศ จะเห็นได้ว่า การส่งออกและการบริโภคในประเทศจะต้องลดลงแน่นอน ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลก็ยังติดขัดในเรื่องการเบิกจ่ายและการขยายการใช้จ่ายไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากกรอบหนี้สาธารณะที่ 70% ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นนัก ดังนั้นทางรอดทางเดียวของประเทศไทยตอนนี้ก็คือ การลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งก็ต้องมีการปรับกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อกับการที่เค้าจะมาลงทุนให้มากขึ้น และก็คงต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 1-2 ปี กว่าเม็ดเงินจะเข้ามาและมีการจ้างงานเกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจไทยกว่าจะไปถึงตรงนั้นจะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยเมื่อมีชาวต่างชาติมาลงทุนมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยก็จะมีมากขึ้น ซึ่งตรงนี้น่าจะช่วยผลักดันให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยบวกเสริมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการขยายระยะเวลาการเช่าให้นานขึ้น ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยเสียโอกาสในการที่จะมีเม็ดเงินใหม่ๆเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่เรายากลำบาก 

สุดท้ายก็คงต้องพูดถึงผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวด้วย ซึ่งเหตุการณ์ผ่านมาร่วม 10 วันแล้ว สิ่งที่เราต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ความสูญเสียและความรู้สึกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ กล่าวคือจะต้องกลับไปเยียวยาและช่วยเหลือให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม อย่างไรก็ตาม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าผลกระทบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นน่าจะมีพอสมควร โดยเฉพาะตลาดคอนโด ในช่วงนี้ก็จะได้รับผลกระทบเต็มๆ จากความเชื่อมั่น และความพร้อมของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องให้ Priority กับการดูแลลูกค้าก่อนการขาย อย่างไรก็ดีความต้องการโครงการแนวราบ อย่าง บ้านและทาวน์เฮ้าส์กลับมีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีโครงการแนวราบใน Portfolio ของตัวเองได้รับปัจจัยบวกจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดนี้ ซึ่งก็ทำให้ภาพตลาดโดยรวมยังไม่ได้ถึงกับไม่ดีมากนัก ถ้าไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีก ประชาชนเริ่มหายตื่นตระหนก และโครงการมีการซ่อมแซมความเสียหายต่างๆ เรียบร้อยแล้ว สถานการณ์น่าจะกลับสู่ภาวะปกติ และความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดก็จะกลับมา โดยส่วนตัวมองว่าผลกระทบนี้เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากโครงการคอนโดต่างๆ ได้ผ่านบททดสอบครั้งใหญ่ที่สุดมาแล้ว ว่าโครงสร้างอาคารแข็งแรงและปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย และที่สำคัญที่สุด เราคงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีที่อยู่อาศัยถึง 2 ประเภท เพื่ออยู่อาศัย นั่นคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเราก็อยากจะอยู่คอนโด และเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเราก็อยากจะอยู่บ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ ดังนั้นผมไม่คิดว่าประชาชนจะสามารถมีที่อยู่อาศัย 2 ประเภทได้ทุกคน แต่ละประเภทก็มีจุดเด่นที่ต่างกันไป สำหรับตอนนี้คงต้องให้เวลาเยียวยาจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบไปก่อน เหมือนกับที่พวกเราชอบพูดกันว่า แล้วมันก็จะผ่านไปผมเชื่อว่าข้อดีของคอนโด โดยเฉพาะคอนโดในเมืองนั้น ทำให้การเดินทางของเราสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและประหยัดค่าเดินทาง ทำให้เราจัดการชีวิตได้มีประสิทธิภาพขึ้นไม่ว่าจะเดินทางไปทำงานหรือทำธุระต่างๆ ประเทศต่างๆที่เค้า ประสบปัญหาแผ่นดินไหว อย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือ ไต้หวัน เค้าก็มีการปรับตัวและยังอยู่อาศัยในอาคารสูงได้ สำหรับประเทศไทย คิดว่าเมื่อเวลาผ่านไป เราก็คงจะปรับตัวได้เช่นกัน

 
 
 
 

 




Special Report

ซื้อทองดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ จริงไหม? article
การ์ทเนอร์คาดการณ์ อีกสองปี AI Agents จะทำให้เวลาที่ใช้โจมตีช่องโหว่ของบัญชีลดลงถึง 50% AI Agents จะฉวยโอกาสมากขึ้นจากการพิสูจน์ตัวตนที่อ่อนแอลง ด้วยการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวอัตโนมัติและช่องทางสื่อสารที่ใช้เพื่อยืนยันตัวตนต่าง ๆ ที่หละหลวม
จุดเปลี่ยนนโยบายภาษีสหรัฐฯ: "ภาษีทรัมป์" เขย่าโลก จับทิศทางการค้าและการปรับตัวของคริปโตในไทย
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ปี 2568
โซเชียลจับตา “ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก” ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
[เอเชียแปซิฟิก] ‘มาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร’ ยกย่อง 150 บริษัทอาหารระดับโลกที่เป็นผู้นำด้านสวัสดิภาพสัตว์ ประเทศกลุ่มภูมิภาค อาทิ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไทย
ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป
CADT DPU เผย บทสรุปเวทีสัมมนา “เส้นทางสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินของไทย" ความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนคือกุญแจสู่ Net Zero
ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจะทำงานอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ได้หรือไม่?
รับมือความท้าทายทรัมป์ 2.0 อย่างไร เมื่อไทยยังมีแผลเป็นเศรษฐกิจ
โค้ด (ไม่) ลับ ฉบับนักเดินทาง บางกอกแอร์เวย์ส แจงชื่อย่อสายการบิน
สรุปผลสำรวจปี 2567 ในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว เผย THAIDOM EFFECT มาแรง
‘การ์ทเนอร์’ เผย 6 เทรนด์สำคัญส่งผลกระทบ โครงสร้างพื้นฐานและการปฏิบัติงานองค์กรปี’68
ปีใหม่..เริ่มต้นใหม่ เปิดวิถีชีวิตคนขับแกร็บ จาก “ความมุ่งมั่น” สู่ “ชีวิตที่ดีกว่า”
StemCell คืออะไร ? ทำไมถึงเป็นแนวทางการดูแลรักษาแห่งอนาคต
SCBX เผยกลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งองค์กรด้วย AI พร้อมชู 5 กล้ามเนื้อหลักขับเคลื่อนธุรกิจ
รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก...ทำเลใหม่เปิดประตูสู่การพัฒนาโครงการบ้าน และคอนโด
คนอร์เปิดตัวโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู ปฏิรูปห่วงโซ่อุปทานข้าวไทย เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
แม็คโคร โชห่วยออนทัวร์ ชูแพลตฟอร์ม Makro PRO ทรานส์ฟอร์มโชห่วยสู่สมาร์ทโชห่วย พร้อมสินค้าคุณภาพ ลดราคา ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี
ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย บอกเล่า 5 ขั้นตอนรักษ์โลก ส่งขวด PET ไปรีไซเคิล
ท่องเที่ยวกลางแจ้ง (Outdoor) จุดแข็งใหม่ท่องเที่ยวไทย ทำธุรกิจเกี่ยวข้องขยายตัว 30%
ไม่ควรตื่นตระหนกเรื่องผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากยาหรือวัคซีนใดๆ ไม่ว่าจะโควิดหรือโรคอื่น
วิกฤต PM 2.5 หลีกเลี่ยงได้ถ้าเราช่วยกัน





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3