
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้จัดงานสัมมนาสุดพิเศษ i-Forum
"ผู้นําการปฏิวัติ 4IR: ถอดบทเรียนสําคัญจาก WEF Global Lighthouse Network" ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”
โดยได้รับเกียรติจาก ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่มาแบ่งปันองค์ความรู้ และร่วมเสวนา ดังนี้
ดร.ไสว เชื้อสาวะถี Vice President & Managing Director, HDD Operations, Prachinburi บริษัท Western Digital Storage Technologies (Thailand) มาร่วม แบ่งปันเส้นทางสู่การเป็น Lighthouse Factory และผลลัพธ์จากการใช้เทคโนโลยี 4IR และ 5IR มาปรับปรุงโรงงานและผลลัพธ์ที่ได้ รวมถึงบทเรียนสำคัญที่ได้เรียนรู้
คุณณชา เอื้อกูลเกียรติ Director Manufacturing Business Unit , Kenvue Thailand มาร่วมแบ่งปัน และถ่ายทอดบทเรียนจากการพัฒนาองค์กรสู่ Global Sustainability Lighthouse อย่างมีประสิทธิผล และยั่งยืน
คุณสรร เลาหกุลวุฒิ Senior Director Industrial Automation Delta Erectornics (Thailand) PCL. และ คุณธนภัทร เตชะแสนศิริ มาร่วมแบ่งปัน การนำเสนอการใช้ Automation, AI และ IoT ในการเปลี่ยนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้ยั่งยืนและทันสมัย
คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท Bitkub Capital Group Holdings Co., Ltd. อัปเดตเทรนด์บล็อกเชนและ AI จากเวที WEF 2025 พร้อมมุมมองต่ออนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน
คุณอิทธิโชติ ดำรงรักษ์ธรรม (BOI ร่วมนำเสนอนโยบายและกลยุทธ์การส่งเสริมการลงทุนเพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต

สำหรับ Global Lighthouse Network คือชุมชนของผู้ผลิตระดับโลกที่นําเทคโนโลยีจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 Fourth Industrial Revolution (4IR) มาปรับใช้ในโรงงานและกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนใน อุตสาหกรรม โดยเครือข่ายนี้ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง World Economic Forum (WEF) และ McKinsey & Company พร้อมทั้งจัดการมอบรางวัล WEF Global Lighthouse Network Award เพื่อยกย่องโรงงานและองค์กรที่เป็นผู้นําด้านการใช้ เทคโนโลยี 4IR อย่างมีประสิทธิผล
ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงวิสัยทัศน์ว่า งานสัมมนา "ผู้นําการปฏิวัติ 4IR: ถอดบทเรียนสําคัญจาก WEF Global Lighthouse Network" จัดขึ้นเพื่อแบ่งปัน ความรู้และประสบการณ์จากโรงงานที่ได้รับการยอมรับระดับโลกในฐานะ เครือข่าย Global Lighthouse Network งานสัมมนา ครั้งนี้ ได้พาท่านไปทําความรู้จักกับการนําเทคโนโลยี 4IR และ 5IR มาใช้ในการผลิตที่มีผลกระทบในด้านการดําเนินงาน การเพิ่ม ประสิทธิภาพและการสร้างความยั่งยืน
นอกจากนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังมีแผนจัดตั้งศูนย์วิจัยแห่งใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5.0 โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรด้วยการ Upskill และ Reskill ผ่านโครงการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ศูนย์นี้จะเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างนักวิจัย นักศึกษา และภาคธุรกิจ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทย และวางรากฐานสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวลิต มิตรสันติสุข ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าคณะทำงาน กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทและโรงงานที่ประสบความสําเร็จใน ระดับโลก
การสัมมนาในครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเท่านั้น แต่คือการจุดประกายการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย สู่ยุคการผลิตที่อัจฉริยะ ยั่งยืน และแข่งขันได้ในเวทีโลก เนื้อหาของงานครอบคลุมตั้งแต่แนวทางการยกระดับทักษะแรงงานไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวิศวกรและช่างเทคนิค ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการสร้างความเข้าใจเรื่อง Future of Jobs และการปรับตัวขององค์กรเพื่อก้าวข้าม “กับดักรายได้ปานกลาง” อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญ เรายังได้เรียนรู้จากแนวคิดของ Global Lighthouse Network ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) และสร้างความยั่งยืน (sustainability) ในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศไทย หากเราต้องการให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยุคใหม่อย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องกล้าเรียนรู้จากผู้นำโลก และกล้าที่จะลงทุนในการพัฒนาทักษะบุคลากรอย่างจริงจัง นี่คือโอกาสที่เราจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

ดร. ไสว เชื้อสาวะถี Vice President & Managing Director, HDD Operations, Prachinburi บริษัท Western Digital Storage Technologies (Thailand) กล่าวว่า เรายินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่เวสเทิร์น ดิจิตอล ปราจีนบุรี เป็น Lighthouse แห่งแรกในประเทศไทย และเราก็มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำของวงการนี้ต่อไป พร้อมทั้งจะเป็นต้นแบบให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ที่กำลังจะเข้าสมัครเครือข่าย Lighthouse
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวยังเชื่อมโยงกับ นโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนพิเศษของ BOI (Board of Investment) ที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมล้ําสมัย เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล นโยบายเหล่านี้ยังช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลก พร้อมทั้งผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโต อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในระยะยาว
#GlobalLighthouseNetwork #Thailand4IR #WEF



.jpg)