“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
dot dot
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช.

แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

    ในยุควิกฤติเศรษฐกิจที่ทุกองค์กรต้องการเร่งหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ การแข่งขันทางธุรกิจมีความเข้มข้นมากขึ้น กลายเป็นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งปัญหาการทุจริตและติดสินบนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคืองเท่านั้น แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

ยัดเงินใต้โต๊ะปัญหาสุด Mass ทั่วโลก ที่ไม่ควรกลายเป็นเรื่องแมสๆ

จากผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริตในประเทศไทย ประจำปี 2563 จัดทำโดยบริษัท ไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย (PwC Thailand) หรือ ‘PwC’s Thailand Economic Crime and Fraud Survey 2020 โดยสำรวจครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจในประเทศ พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 33% ของบริษัทในไทยได้รับผลกระทบจากการทุจริตและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ  โดยปัญหา “สินบนและการทุจริต” เป็นหนึ่งในอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจต้องพบเจอมากที่สุด(31%)  รองลงมาจากการยักยอกทรัพย์ (47%) และการทุจริตผ่านการจัดซื้อจัดจ้าง (33%)

 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบค่าดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) ในปี 2555-2556 ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐและนักการเมืองที่ทุจริต เฉลี่ยอยู่ที่ 25-35% / ปี 2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 5-15% / ปี 2558-2559 เฉลี่ยอยู่ที่ 1-15% และในปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 5-15% ทำให้เห็นได้ว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศไทยมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณที่ดีในการร่วมมือกันช่วยลดปัญหาทุจริตและการติดสินบนของไทยให้มีปริมาณลดลงต่อไป
นอกจากสถิติเหล่านี้ที่ชี้ให้เห็นปัญหาสินบนและการทุจริตในประเทศไทยแล้ว ยังมีสถิติอื่นๆ ที่สะท้อนปัญหาดังกล่าวในภาพรวมระดับโลก เช่น สถิติคดีสินบนของกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งพบว่าทุกประเทศและทุกระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจต่างเผชิญปัญหานี้เช่นเดียวกัน

เพราะการให้สินบนเหล่านี้ทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เท่าเทียม อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เห็นได้จากการจัดอันดับต่างๆ ที่เป็นกระจกสะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศได้อย่างชัดเจน ตัวเลขผลสำรวจเหล่านี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กลุ่มนักลงทุนใช้ประเมินความน่าสนใจในการลงทุนของแต่ละประเทศ โดยจะมองว่าการทุจริตเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เป็นต้นทุนหรือเป็นความเสี่ยงในการเข้ามาประกอบธุรกิจ ถ้าประเทศไหนมีคะแนนที่ดีก็จะช่วยสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของประเทศที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศนั่นเอง

 

ไม่ใช่แค่บุคคล แต่ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ นิติบุคคล ต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พัฒนากฎหมายและมาตรการที่จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาสินบนอย่างมีประสิทธิภาพ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 176 เป็นการกำหนดความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ โดยสินบนที่ว่านี้หมายถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นๆ ที่ให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น เงิน บ้าน รถ หรือแม้แต่การพาไปท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการให้เพื่อจูงใจให้เกิดการกระทำที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และแม้ผู้ให้สินบนจะไม่ได้ให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐโดยตรง เช่น การให้สินบนผ่านตัวกลาง อย่างคู่สมรส ญาติ หรือเพื่อน ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้เช่นกัน โดยจะได้
รับโทษ จำคุกไม่เกิน
5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนั้น กฎหมายยังกำหนดความรับผิดสำหรับองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ในกรณีที่พนักงาน ลูกจ้าง ตัวแทน บุคลากรขององค์กรหรือบริษัทในเครือ ให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของรัฐเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคล หากเกิดการติดสินบนและนิติบุคคลไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการกระทำความผิด นิติบุคคลอาจต้องโทษปรับ ตั้งแต่หนึ่งเท่าแต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หรือประโยชน์ที่ได้รับ

 

8 หลักการป้องกันการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ ตัวช่วยสำคัญสำหรับองค์กรเพื่อการควบคุมความเสี่ยง

นอกจากกฎหมายจะเข้ามาช่วยปราบปรามผู้ที่ให้สินบนแล้ว กลไกที่สำคัญของกฎหมายอีกอย่างหนึ่งคือการสนับสนุนให้องค์กรมีมาตรการกำกับดูแลภายใน เพื่อการประกอบกิจการอย่างโปร่งใส และมีวัฒนธรรมองค์กรในการต่อต้านสินบนและการทุจริตอย่างแท้จริง

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กำหนดหลักการป้องกันการให้สินบนขึ้นมาด้วยกันทั้งหมด 8 ข้อ เพื่อให้นิติบุคคลนำไปปรับใช้ ได้แก่

 

1.      การป้องกันการให้สินบนต้องเป็นนโยบายสำคัญจากระดับบริหารสูงสุด

ผู้ที่อยู่ในระดับบริหารสูงสุดขององค์กรมีบทบาทสำคัญที่ในการริเริ่มมาตรการควบคุมภายในองค์กร สามารถสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรให้ต่อต้านการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐได้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี หรือสร้างนโยบายในการต่อต้านสินบน

2.      นิติบุคคลต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ

นิติบุคคลมีโอกาสที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานของรัฐมากน้อยแตกต่างกันออกไป ด้วย โครงสร้าง ประเภท และลักษณะการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันการประเมินความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ จะทำให้สามารถสร้างมาตรการควบคุมได้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของตนเอง ซึ่งความเสี่ยงที่ว่านั้นหมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ลักษณะธุรกิจที่มีโอกาสติดต่อกับเจ้าพนักงานของรัฐ และความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน เช่น การขาดการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบน เป็นต้น

3.      มาตรการเกี่ยวกับกรณีมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นการให้สินบนต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน

การให้ของขวัญ เช่น เงิน สินค้า บริการ บัตรกำนัล หรือการเลี้ยงรับรอง เช่น ค่าที่พัก การศึกษา
ดูงาน ค่าอาหารเครื่องดื่ม และการบริจาค มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐนิติบุคคลจึงต้องมีขั้นตอนการพิจารณาในการขออนุมัติและตรวจสอบอย่างชัดเจน โดยต้องเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาเป็นการใช้จ่ายเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานของรัฐ ในส่วนมูลค่าควรสมเหตุสมผลและใช้เท่าที่จำเป็น และที่สำคัญช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ไม่อยู่ในช่วงใกล้การเข้าร่วมแข่งขันประมูลโครงการของรัฐ เป็นต้น

4.      นิติบุคคลต้องนำมาตรการป้องกันการให้สินบนไปปรับใช้กับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับนิติบุคคล

บริษัทในเครือ หรือตัวแทนต่างๆ ถ้าเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจเหล่านี้ให้สินบนกับเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคล นิติบุคคลอาจมีความผิดด้วย จึงควรมีการตรวจสอบสถานะ รวมทั้งอาจกำหนดเป็นข้อตกลงในสัญญาให้ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการเรื่องการต่อต้านสินบนด้วยเช่นกัน

5.      นิติบุคคลต้องมีระบบบัญชีที่ดี

มีการบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมีการตรวจสอบที่เป็นอิสระเพื่อป้องกันการปกปิดค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นสินบน

6.      นิติบุคคลต้องมีแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการให้สินบน

การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีเป็นส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการให้สินบนภายในองค์กรได้ นับตั้งแต่การจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรม และการจ่ายค่าตอบแทน
นิติบุคคลต้องมีการผลักดันบุคลากรภายในองค์กรให้มีความตระหนักและร่วมมือปฏิบัติตาม

7.      นิติบุคคลต้องมีมาตรการในการสนับสนุนให้มีการรายงานการกระทำความผิด หรือกรณีมีเหตุน่าสงสัย

จัดให้มีช่องทางการรายงานและให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน สร้างความเชื่อมั่นให้มีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เช่น มีวิธีการรับเรื่องที่เข้าถึงง่าย ชัดเจน ปกปิดสถานะของผู้ร้องเรียนหากไม่ต้องการเปิดเผยตัวเอง ไปจนถึงสามารถติดตามผลการดำเนินการได้

8.      นิติบุคคลต้องตรวจสอบและประเมินผลการใช้มาตรการป้องกันการให้สินบนอย่างเป็นระยะ

ความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ จึงต้องมีการทบทวนและประเมินผลมาตรการป้องกันการให้สินบนเป็นระยะเพื่อแก้ไขปรับปรุงมาตรการให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป

แม้นิติบุคคลจะมีมาตรการสอดคล้องกับหลักการของคู่มือฉบับนี้แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่ต้องรับผิดถ้ามีการให้สินบนเกิดขึ้น เพราะนิติบุคคลยังต้องนำมาตรการไปปรับใช้อย่างจริงจังให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจและความเสี่ยงของตน เพื่อให้มาตรการนั้นเป็นมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมจริงๆ ด้วยเช่นกัน

การสร้างมาตรการป้องกันการให้สินบนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพจะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุดให้กับองค์กรของท่าน โดยไม่เป็นเพียงแค่ป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการถูกฟ้องร้องเป็นคดีความเท่านั้น แต่การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ยังส่งผลไปยังทุกภาคส่วนอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะจำนวนการทุจริตที่ลดลงจะช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ และยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือต่อนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ทำให้การดำเนินธุรกิจของท่านเป็นไปได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

ท่านสามารถชมข้อมูลที่น่าสนใจโดยสรุปได้จากคลิปนี้

ชมคลิปวิดีโอฉบับเต็ม > https://www.youtube.com/watch?v=wpo2NkgCy9k&feature=youtu.be

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการเรื่องการป้องกันการให้สินบนได้จากสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ www.nacc.go.th/abas

 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

“เครียดลงกระเพาะ” โรคฮิตที่อย่ามองข้ามความเครียด คือ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย article
เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็น”ฮ่องเต้ซินโดรม” article
ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3