เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
dot dot
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า

เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า

 
 

หากจะพูดถึงการทำศัลยกรรมดึงหน้าในปัจจุบัน กลายเป็นศัลยกรรมลำดับต้นที่กำลังได้รับความสนใจจาก คนทุกเพศที่ผิวหน้าหย่อนคล้อย มีริ้วรอย เพราะหากอยากให้ผิวหน้าถอยกลับไปเต่งตึงสมวัยหรืออ่อนกว่าวัยอีกครั้ง ทางที่เห็นผลทันตาที่สุด คือ การทำศัลยกรรมดึงหน้า

และด้วยปัจจุบันที่เทคนิคการดึงหน้า ได้มีการพัฒนาไปมาก อีกทั้งยังมีทั้งคลินิกและสถานพยาบาลให้เลือกมากมาย รวมไปถึงโปรโมชั่นและโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ จนไปถึงเทคนิคในแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน  เราในฐานะผู้ใช้บริการจะมีทางเลือกในการตัดสินใจอย่างไร เรามีเช็กลิสต์ดีดี 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า โดยเป็นการให้ข้อมูลจากศัลยแพทย์ชื่อดัง นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล  แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด ศัลยแพทย์ผู้ฝากผลงานการศัลยกรรมดึงหน้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หลายคนต้องยกนิ้ว

เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า

1. เทคนิคในการดึงหน้าคือเทคนิคอะไร

เราต้องทราบว่าแพทย์ใช้เทคนิคอะไรในการศัลยกรรมดึงหน้า เพราะเทคนิคการดึงหน้ามีหลากหลายมาก แต่ในปัจจุบันเทคนิคการดึงหน้าที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อระดับ SMAS จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเทคนิคอื่น  ข้อดีคือผิวหน้าจะตึงกระชับอย่างเป็นธรรมชาติและอยู่ได้ในระยะยาวเห็นผลชัดเจน บางที่จะผ่าตัดเพียงแค่ผิวหนังด้านบนเท่านั้น  แม้ว่าข้อดีคือผ่าตัดง่ายสะดวกรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะดูไม่เป็นธรรมชาติ และอยู่ไม่ยาวนาน เหมือนกับการผ่าตัดที่ลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อระดับ SMAS

2. เทคนิคโดยรวมมีคอนเซ็ปต์อย่างไร 

แต่ละสถานพยาบาลจะมีคอนเซ็ปต์การทำศัลยกรรมดึงหน้าไม่เหมือนกัน  ดังนั้นต้องดูว่าเราพึงพอใจกับคอนเซ็ปต์ของแต่ละที่ไหม บางที่ดึงหน้าจนตึงมากจนใบหน้าเปลี่ยนและดูไม่ธรรมชาติ แต่บางที่เน้นความเป็นธรรมชาติ   อย่างที่ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมดเราจะมีเทคนิคการดึงหน้าแบบ  Modern Facelift  คือเน้นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย หายเร็ว เน้นความเป็นธรรมชาติ โดยใบหน้าจะดูอ่อนเยาว์เหมือนย้อนอายุกลับไปมากกว่า คอนเซ็ปต์ของเราคือศัลยกรรมดึงหน้าเพื่อให้คุณย้อนวัยกลับไปเป็นตัวคุณเอง ถ้าไม่สังเกตอาจจะไม่เห็นว่าเราดึงหน้ามา แต่จะดูว่าอายุน้อยลง   เวลาเรายิ้มหรือแสดงสีหน้าก็จะแสดงได้เหมือนเดิม บางคนดึงหน้าจนตึงมากเกินไป หลับตาไม่สนิท  เวลายิ้มมองแทบไม่เห็นร่องแก้ม มันจะดูไม่ธรรมชาติ   

3. เลือกดึงหน้าเฉพาะส่วนได้อย่างตรงจุด  

ในอดีตหลายคนมักคิดว่าการดึงหน้าต้องดึงทั้งหน้า แต่ในความเป็นจริงด้วยเทคนิคปัจจุบัน เราสามารถทำแยกส่วนได้ ไม่จำเป็นต้องทำทั้งใบหน้า จึงทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า พักฟื้นเร็วกว่า  เช่นบางคนอายุมากแต่ใบหน้าส่วนบนยังตึงแต่มีร่องน้ำหมากเราก็เลือกดึงแค่ใบหน้าส่วนล่าง  หรือบางคนหน้ายังตึงแต่คอหย่อนเราก็เลือกดึงแค่คอ  ถ้าเราดึงได้ตรงปัญหาก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดี

4. การตรวจวิเคราะห์กับแพทย์โดยละเอียด

การตรวจวิเคราะห์กับแพทย์โดยละเอียดควรเป็นสิ่งที่เราต้องคำนึง  เพราะก่อนจะต้องทำศัลยกรรมดึงหน้าเราจะมีการตรวจวัดระดับความหย่อนคล้อยของใบหน้าอย่างละเอียด เช่นหากหย่อนคล้อยในระดับเกรด 1-2  อาจจะยังไม่ต้องผ่าตัด  แต่ถ้าหย่อนคล้อยในระดับเกรด 3-4 แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดได้  ดังนั้นอย่าเพียงส่งภาพใบหน้าของเราให้แพทย์วิเคราะห์ควรเข้ามาปรึกษาที่สถานพยาบาลจะดีกว่า และแพทย์สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างตรงจุด

5. นอกจากดึงหน้ามีการเสริมส่วนอื่นอีกไหม

นอกจากการผ่าตัดดึงหน้า แพทย์มีการเสริมส่วนอื่นไหม เช่นการฉีดไขมันของตัวเอง (Fat Grafting) ผสานสารสกัดพลาสม่า (PRP)  ทั่วใบหน้า  ร่วมกับการผ่าตัดดึงหน้า ซึ่งสามารถทำร่วมกันในการผ่าตัดครั้งเดียวได้จึง ช่วยเติมเต็มร่อง และริ้วรอยต่างๆ ให้ตื้นลง และทำให้คุณภาพของผิวดีขึ้นได้อีกด้วย

6. หมอที่ผ่าตัดเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงไหม

ต้องดูว่าแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้เรา เป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงไหมเพราะการผ่าตัดกับหมอเฉพาะทางจะทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาสวยและปลอดภัยมากกว่า    โดยสามารถเช็กได้โดยการนำชื่อศัลยแพทย์ ไปเช็กจากฐานข้อมูลบนเว็บไซต์แพทยสภา (https://checkmd.tmc.or.th) ที่ดูได้ว่ามีประสบการณ์กี่ปี เรียนจบเฉพาะทางด้านใด   สำหรับสถานพยาบาลสามารถเช็กจากเว็บไซต์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. ( http://privatehospital.hss.moph.go.th )       เพื่อความมั่นใจ ก่อนการตัดสินใจเพื่อทำศัลยกรรม 

7. การดึงหน้าเป็นผ่าตัดใหญ่ต้องมีทีมที่พร้อม

การผ่าตัดศัลยกรรมใหญ่เราควรต้องมีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ  มีวิสัญญีแพทย์ และทีมพยาบาลครบครัน เพราะการมีทีมที่พร้อมจะช่วยทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยและราบรื่น   

8. การพักฟื้นและการดูแลหลังผ่าตัด

การผ่าตัดศัลยกรรมดึงหน้าเป็นการทำศัลยกรรมใหญ่ จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล และมีทีมพยาบาลวิชาชีพดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง 

9. เลือกสถานพยาบาล

ดูมาตรฐานด้านความปลอดภัยเป็นหลัก  นอกจากจะเลือกแพทย์แล้วส่วนสำคัญคือสถานพยาบาล ให้ดูว่ามีวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ได้มาตรฐานสำหรับการผ่าตัด  รวมถึงการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะทำให้เข้าถึงการช่วยชีวิตที่ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น 

10.ให้ดูผลงานของหมอ ไม่เน้นดูรีวิว

ให้ทุกท่านเน้นการดูผลงานของแพทย์และโรงพยาบาลนั้นๆ  ส่วนใหญ่หมอจะแนะนำให้ดูจากรีวิวจากผู้ใช้ บริการจริง ( customer review)  ร่วมกับวิชาการทางการแพทย์ ไม่อยากให้ดูแค่รีวิวศัลยกรรมที่จ้างดาราหรือ Influencer  เพราะอาจจะทำให้เกิดความคาดหวังที่เกินจริงได้  

นพ.ธนัญชัย ยังกล่าวอีกว่า  ในขณะที่เทคนิคทางการแพทย์สมัยใหม่ก็พัฒนาขึ้น จึงเปิดโอกาสให้คนทุกเพศทุกวัยสนใจเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมได้เปิดกว้างมากขึ้น เช่นศัลยกรรมดึงหน้า เมื่อก่อนคนที่จะดึงหน้าส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ  60-70 ปีถึงจะมาทำศัลยกรรม แต่ในปัจจุบันอายุประมาณ 30-40 ปีก็เริ่มมาทำศัลกรรมแล้ว ซึ่งเป็นการดึงหน้าเฉพาะส่วนที่มีความหย่อนคล้อยเช่น  คนช่วงวัย 30-40 ปี อาจจะมีหางตาหรือคิ้วที่เริ่มตกไปตามวัย บางคนเริ่มปรากฏรอยตีนกา ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนอายุ 30-40 ปี หมอจะยังไม่แนะนำให้ดึงหน้า ตรงกันข้ามกับปัจจุบันด้วยเทคนิคทางการแพทย์ที่ดีขึ้นทำให้เราสามารถดึงหน้าแยกส่วนได้ สามารถฉีดยาชาทำโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาน้อยลงและตรงปัญหามากขึ้น เช่น คนวัย 30-40 ปีที่มาดึงเฉพาะส่วน ใช้เวลา 30 นาทีก็เสร็จแล้ว ถือเป็นการผ่าตัดเล็ก ดูแลง่าย 

ทั้งนี้คุณหมอธนัญชัยยังฝากทิ้งท้ายเรื่อง “จริยธรรมแพทย์” เพราะจรรยาบรรณและความรับผิดชอบที่ศัลยแพทย์ควรมีมากกว่าการมุ่งแต่ผลตอบแทนทางธุรกิจ ด้วยการให้ข้อมูลตามความเป็นจริง อธิบายข้อดี-ข้อเสียและโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนทั้งหมดอย่างละเอียด  ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เกิดความปลอดภัย และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

“เครียดลงกระเพาะ” โรคฮิตที่อย่ามองข้ามความเครียด คือ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย article
เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็น”ฮ่องเต้ซินโดรม” article
ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3