ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
dot dot
ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ? โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ถ้าจะลดน้ำหนัก รู้จัก ฮอร์โมนหิว-อิ่ม หรือยัง ?

โดย รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
 
 

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ข้อมูลจากวารสารแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน 2566 ระบุว่า ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประเทศไทยในปี 2565 สูงถึงร้อยละ 47.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2559 และสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากมาเลเซีย สิ่งที่น่าเป็นกังวล คนส่วนหนึ่งไม่ตระหนักว่าโรคอ้วนเป็นโรคที่ต้องรักษา โรคอ้วนอันตรายกว่าที่คิด หลายคนที่เพิกเฉยต่อ น้ำหนัก ควรหันกลับมาปรับพฤติกรรม หรือปรึกษาแพทย์ก่อนจะสายเกินไป 

จะทราบได้อย่างไรว่าเรามีภาวะน้ำหนักเกิน ?

วิธีตรวจสอบภาวะน้ำหนักเกินทำได้ง่าย ๆ 3 วิธี วิธีแรก ใช้ส่วนสูงหน่วยเซนติเมตร ในเพศชายส่วนสูง -100 และ เพศหญิงส่วนสูง -105 ค่าที่ได้คือค่าน้ำหนักมาตรฐาน วิธีที่ 2 ดูค่าดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (ตารางเมตร) เช่น น้ำหนัก 60 กิโลกรัม สูง 165 เซนติเมตร ค่า BMI เท่ากับ 22 มาจาก 60 หารด้วย (1.65 x 1.65) ซึ่งเกณฑ์ปกติอยู่ที่ 18.5-22.9 ถ้า BMI ตั้งแต่ 23 ขึ้นไป ถือว่าเริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป ถือว่ามีภาวะโรคอ้วน วิธีที่ 3 คือ การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย เพศชายไม่ควรมีไขมันในร่างกายเกินร้อยละ 25 ส่วนเพศหญิงไม่ควรเกินร้อยละ 33 

ภาวะน้ำหนักเกินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ?

คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมักสัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพ งานวิจัยจาก National Institutes of Health (NIH), World Health Organization (WHO) และ American Heart Association (AHA) พบว่า โรคอ้วนก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้กว่า 229 โรค และยังพบความสัมพันธ์ระหว่างค่า BMI กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ด้วย เช่น ผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป พบว่าร้อยละ 50 มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 40 พบภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคอื่น ๆ ที่พบ เช่น โรคกรดไหลย้อน ไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมทั้งโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ ยังเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตลดลง มีปัญหาสุขภาพจิต 

กินให้น้อย ออกกำลังกายให้มาก เพียงพอต่อการลดน้ำหนักไหม ?

หลายคนบอกว่าแค่กินให้น้อย ออกกำลังกายให้มาก ก็เพียงพอต่อการลดน้ำหนักแล้ว แต่หลักการนี้มักสร้างความกดดันให้กับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะความอ้วนเกิดจากหลายปัจจัยที่ซับซ้อน เช่น ฮอร์โมน กรรมพันธุ์ โรคประจำตัวบางชนิด รวมถึงความเครียด การกินให้น้อยและออกกำลังกายให้มากอาจเพียงพอในช่วงแรก ๆ ของการลดน้ำหนัก แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับการลดน้ำหนักในระยะยาว หลักการของการลดน้ำหนัก คือ ต้องลดพลังงานที่กิน เมื่อลดพลังงานจากอาหาร น้ำหนักก็จะลดลง เมื่อน้ำหนักลด พลังงานพื้นฐานที่ร่างกายต้องใช้ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราไม่สามารถลดน้ำหนักลงไปได้เรื่อย ๆ การคุมอาหารส่วนใหญ่ช่วยลดน้ำหนักประมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว หลังจากนั้นน้ำหนักจะเริ่มคงที่ ซึ่งในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะลดน้ำหนักได้ยากกว่าคนที่มีอายุน้อย” 

ฮอร์โมนหิว-อิ่ม เป็นอย่างไร ?

ในร่างกายจะมีศูนย์ควบคุมความหิว ความอิ่ม ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส และมีฮอร์โมนที่ส่งสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างสมองกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ตื่นนอนในตอนเช้า ร่างกายต้องการพลังงาน กระเพาะอาหารหลั่งฮอร์โมนเกรลิน ทำให้รู้สึกหิว และเมื่อรับประทานอาหารแล้ว ลำไส้เล็กหลั่งฮอร์โมน GLP-1 ทำให้รู้สึกอิ่ม 

             คนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินที่ควบคุมการรับประทานอาหารได้ยาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีระบบฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว ความอยากรับประทานอาหารทำงานไม่สมดุล ดังนั้นหากควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว แต่ยังลดน้ำหนักได้ไม่ถึงเป้าหมาย สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางในการลดน้ำหนักให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยประเมินจากการใช้ชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการบริโภค และโรคร่วมต่าง ๆ 

แนวทางการรักษาภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

แนวทางการรักษาหลายวิธี อาทิ การใช้ยาลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม ปัจจุบันในประเทศไทยมียาลดน้ำหนักที่ได้รับการรับรองข้อบ่งใช้จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีอยู่ 3 ตัว ด้วยกัน คือ phentermine, orlistat และ liraglutide

1.    Phentermine เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ได้ระยะสั้นจำเป็นต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด

2.    Orlistat เป็นยาที่ยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยไขมัน ช่วยลดการดูดกลับของไขมันเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีผลข้างเคียงเกี่ยวกับการถ่ายไขมันปนกับอุจจาระ หรือผายลมแล้วมีน้ำมันปนออกมาเลอะได้ ทั้ง phentermine และ orlistat เป็นยารับประทาน   

3.    Liraglutide เป็นยาในกลุ่ม GLP-1 ที่ช่วยในการควบคุมความอยากอาหาร โดยทำงานเลียนแบบฮอร์โมนอิ่มตามธรรมชาติ ออกฤทธิ์ทำให้อิ่มเร็วขึ้น อาหารย่อยและดูดซึมช้าลง ค้างอยู่ในกระเพาะนานขึ้น จึงทำให้อิ่มนาน จากงานศึกษาวิจัยในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย พบว่าช่วยลดน้ำหนักได้เฉลี่ยร้อยละ 10 บางรายลดได้ร้อยละ 15 ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ใช้ได้ระยะยาว โดยผู้ใช้ยาส่วนหนึ่งร่างกายอาจไม่คุ้นชินกับ GLP-1 ที่เพิ่มขึ้น อาจมีอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น พะอืดพะอม อยากอาเจียน ท้องเสีย แต่ร่างกายจะปรับตัวได้ในเวลาไม่นาน ในต่างประเทศมีการใช้ยาในกลุ่ม GLP-1 มานานกว่า 10 ปีแล้ว สำหรับประเทศไทย ยาฉีดใต้ผิวหนังในกลุ่มนี้ได้รับการอนุมัติจากอย. แล้วกว่า 5 ปี เช่นกัน 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก 

             “อยากแนะนำให้ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือผู้ที่พร้อมจะลดน้ำหนักเข้ามาปรึกษาแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ป่วยจากโรคอ้วนหรือโรคอื่น เนื่องจากผู้มีน้ำหนักตัวเกินมักมีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย หากวันนี้เรายังมีสุขภาพดีอยู่ ก็อยากให้เริ่มปรับพฤติกรรมการบริโภคหรือการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เมื่อน้ำหนักตัวลดลงก็จะลดโอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ หรือกรณีที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย อาการของโรคเหล่านี้ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งส่งผลดีในด้านอื่น ๆ ด้วย ทั้งรูปร่าง ความมั่นใจ สุขภาพจิต และมีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย”

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 




ความรู้ทั่วไป

“เครียดลงกระเพาะ” โรคฮิตที่อย่ามองข้ามความเครียด คือ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย article
เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็น”ฮ่องเต้ซินโดรม” article
ถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดทรมาน ติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณรูทวาร “ริดสีดวงทวาร” โรคฮิตที่หลายคนหวาดผวา
ผู้ปกครองหมั่นสังเกต! "โรคตาขี้เกียจ" ภาวะมองเห็นไม่ชัดที่พบบ่อยในเด็ก แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ รู้ไว-รักษาได้ พ่อแม่รีบเช็กอาการเสี่ยง ก่อนรักษาไม่หาย
โรคไบโพลาร์ รับมือได้ไม่ยาก หากเข้าใจ
ภัยเงียบจากอุตสาหกรรมแร่ใยหิน อันตรายถึงชีวิต
แรนซั่มแวร์คืออะไร? ทำความเข้าใจการโจมตี และกลยุทธ์การป้องกันสำหรับองค์กรจาก Synology
ไม่ได้ไม่รัก แต่รักไม่ได้ “โรคกลัวความรัก” ภาวะกลัวถึงขั้นตัวสั่น หายใจติดขัด แพทย์ รพ. วิมุต ชี้ ปรึกษาแพทย์ก็หายได้ ก่อนรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
ลดบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ
‘จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร’ เพื่อนตัวจิ๋วที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แพทย์ รพ. วิมุต แนะ รักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีก่อนล้มป่วย
หยุด! “โรคสายตาขี้เกียจ” ในเด็ก บันไดแรกก่อนสู่วัยเรียน
"ไข้เลือดออก" ครองแชมป์อันดับ 1 โรคระบาดในไทยปี 66 สูง 3 เท่า มีโอกาสเป็นซ้ำได้
finbiz by ttb แนะจัดทำ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” คู่มือนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญหาลูกกินยากแก้ได้ด้วยการฝึกวินัยการกิน
‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ‘ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์’ พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้
วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโต ฉบับปี 2566
เช็กลิสต์ 10 ข้อที่ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมดึงหน้า
โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม! "ต่อมลูกหมากโต" ภัยร้ายที่บั่นทอนการใช้ชีวิตของชายสูงวัย แพทย์ รพ. วิมุต เตือน เป็นแล้วรีบรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
เปิดเส้นทางพัฒนาชุมชนปากพูนสู่หมุดหมายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านเทศกาล “ล่องเรือ กินปู ดูหิ่งห้อย”
ไล่จับ!! 6 ภาวะโรคไทรอยด์ที่พบบ่อย ให้ทัน ‘ก่อนเป็นพิษ’ แม้ช้าเพียงนิด อาจเสี่ยง‘หัวใจวาย’
แพทย์ รพ.วิมุต แนะ ลดด่วน! สาวเมืองกรุงอ้วนลงพุงกว่า 60% เผยค่าเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าชายเกือบเท่าตัว
หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงสมองเสื่อม หมอจุฬาฯ ร่วมกับทุนวิจัยรัฐบาลอังกฤษ จัดให้ความรู้นิทรรศการ “บ้านนก” ครั้งแรกในไทย
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย
ไม่ประมาท อาการ Long Covid ทำร้ายสุขภาพ แนะนำทานสมุนไพร ฟื้นฟูร่างกายหลังจากติดเชื้อ
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ไขข้อสงสัย “ภาวะมีบุตรยาก” และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วย “IVF”
รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ
รู้ทันทุกอาการและสาเหตุ “โรคไต” ตัดวงจรโรคร้าย ก่อนสายเกินไป
ถอดรหัสวิธีเด็ด เคล็ดลดความอ้วน สูตรสำเร็จ จาก ยันฮี
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ประเดิมฤกษ์ดีลงเสาเอกพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ให้แก่ DKSH (Thailand) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก
SLEEP TEST จับผิดการนอน ก่อนหยุดหายใจขณะหลับ (พร้อมแบบทดสอบออนไลน์)
21 ไอเดีย 21 พื้นที่แห่งความสุข ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง
ห่วง! องค์การอนามัยโลกเตือน หูไม่ได้ยิน เสี่ยงสมองเสื่อมและพัฒนาการช้า ย้ำเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด หมอจุฬาฯ แนะตรวจคัดกรองผู้สูงวัย 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน
ปลดล็อก!! ข้อสงสัยเสริมหน้าอกหลักหมื่นถึงหลักล้านต่างกันอย่างไร??
เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์
แบบบ้านฟรีมีที่ไหน? แนะ 4 เรื่องควรรู้หลังได้แบบบ้านฟรี
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน article
พลิกโฉมสกินแคร์ไทย! วิศวะฯ มธ. เปิดมุมมองสะท้อนบทบาทของวิศวกรเคมี ปรับตัวขานรับ กม. ห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ระบบออโตเมชั่น : ตัวช่วยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจห้างค้าปลีก
โรคแพนิค (Panic Disorder) และ ‘PANIC ATTACK’ ภาวะกังวลที่อันตรายกว่าที่คาดคิด
หน้าฝนมาแล้ว...ภูมิแพ้หลบหน่อย
บอกลาอาการปวดเข่า ปวดข้อ พร้อมบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย MEGAMIN Calcium LT+
คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีรับมือ 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
ผลวิจัย หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจบัณฑิตย์ เผย! ฉีดฟิลเลอร์รักษาริ้วรอยรอบดวงตา สามารถเพิ่มความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ … ทำอย่างไรไม่ให้เกิด “ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง”
เบาหวานกับโควิด ชีวิตไปทางไหน
มาตรวจเบาหวานกันเถิด
แคลเซียมนั้นสำคัญไฉน !? รู้จักที่มาและความเสี่ยง หากชีวิตนี้ขาดแคลเซียม !!
อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี ! รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว
ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”
“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
เปิดคู่มือฉีดวัคซีนโควิด-19 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อน-หลัง “เช็คก่อนฉีด” พร้อมวิธีลดความเสี่ยงจาก “ภัยเงียบ” อย่างมั่นใจ
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
อาหารน้องหมา-น้องแมวตามช่วงวัย ความใส่ใจของเจ้าของ สู่ความสุขภาพดีของสัตว์เลี้ยง
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)
“ปวดหัว” โรคยอดฮิตใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง
ปฏิวัติทุกความเชื่อด้านการบริหารจัดการองค์กร ‘ในโลกเก่า’ โมเดลการบริหารองค์กรยุคใหม่ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ”
ไม่มีโรคภัย = ปัจจัยสร้างความสุข’ ทริคสร้างสุขแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
ฟิลิปส์เผยสถิติใหม่ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ แนะคนไทยใส่ใจการนอนอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลก
ทำความรู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” ญาติห่างๆ ของโควิด-19 และ “วัคซีนชนิดเชื้อตาย” ที่มาก่อนกาล
เช็คด่วน! 5 สัญญาณเตือน “เส้นผม-หนังศีรษะ” ของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแนะตรวจ “ต้อหิน” ปีละ 1 ครั้ง ชี้รู้เร็วรักษาได้ป้องกันไม่ให้ตาบอด
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
ใช้เครื่อง CPAP แล้วทำไมยังไม่หายง่วง
มุมมอง “ครูเบล” 10 เทคนิคเรียนเก่ง ครูที่เคยได้ 16 ทุน จาก 10ประเทศทั่วโลก
อาการมือเท้าสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณอันตรายใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ
บทเรียนนางงาม จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง: กับทัศนคติ ผู้หญิงอย่าหยุดสวย...ต้องสวยและมั่นใจขึ้นกว่าเมื่อวาน เคล็ดลับสวยสมมง ฉบับ น้ำตาล – ชลิตา
รู้จัก 4 สารอันตรายใน “ครีมเร่งขาว” ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย
เผยประชากรโลกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกือบ 1 พันล้านคน
ไขข้อสงสัย “น้ำมะพร้าว” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ !? กับผลการศึกษาจริงใน “หนูทดลอง”
ตั้งการ์ดให้พร้อมอยู่เสมอ ด้วย 3 คุณประโยชน์ของกระเทียม สมุนไพรเพื่อสุขภาพตั้งแต่อดีตสู่อนาคต
“มะเร็งในเด็ก” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่น หากตรวจพบเร็ว ช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ออกได้หรือไม่วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอต้น นายแพทย์สฤษดิ์ ตันติอภิชาต อาจารย์แพทย์ด้านฟิลเลอร์ ค่ะ
“โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ใช่ความอ่อนแอของใจ ทำความเข้าใจและรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้
ดื้อโบ คืออะไร - 0% impurities สำคัญขนาดไหน “รศ.พญ.รังสิมา” ไขข้อข้องใจ และชวนปลุกพลัง “Confidence to be…” ให้หนุ่มสาวยุคใหม่สวยหล่อเป็น “เดอะเบสต์เวอร์ชั่น” ของตัวคุณเอง
เจาะลึก 7 แบบแหวนเพชรสุดฮิต เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ปรับแก้ไขโครงสร้างใบหน้าให้อย่างไร?? ให้ดูละมุน มีมิติ
“ปวดคอ มือชา ปวดร้าวที่แขน” อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงเป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันตรายถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
คณะราษฎรโดยจอมพล ป มอบที่ดินให้จุฬาฯ
อย่าคิดว่า “นอนกรน” เป็นเรื่องปกติ อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงชีวิต
จัดงานแต่งเล็กๆ ให้เพอร์เฟ็กต์ ทำได้ไม่ยาก!!
“สินบน” ภัยร้ายกระทบธุรกิจไทย –ป.ป.ช. แนะ 8 หลักการป้องกันตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
แนะเคล็ดลับ “ปรับบ้านรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ย” กับหมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา
“ดูดนิ้ว หยิบของเข้าปาก” หากลูกน้อยคุณกำลังอยู่ในวัยนี้ พึงเฝ้าระวัง อาจเสี่ยงเป็นโรคท็อปฮิต “มือ เท้า ปาก” ได้
เกษตรกรแห่ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทย กรมวิชาการเกษตรรุดสร้างเกษตรกรต้นแบบผลิตเองได้ใช้เป็น
กว่าจะถึงวันนี้…โรคโกเช่ร์ หนึ่งในโรคหายาก โมเดลต้นแบบแห่งความหวังของกลุ่มโรคพันธุกรรม LSD ในอนาคต
ศัลยกรรมหน้าอย่างไร ให้ปัง!! ไม่พัง! ไม่โป๊ะ!
รู้หรือไม่ โรคที่มากับหน้าฝนไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก “ชิคุนกุนยา” อีกโรคยอดฮิตที่มากับยุงลายพาหะตัวร้าย
5 เทคนิคเรียนออนไลน์ให้สำเร็จ สนุก และมีประสิทธิภาพ
สังเกตุตนเองให้ดี คุณเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหรือเปล่า?
ปวดข้อ-ปวดเข่าเรื้อรัง ไม่หายเสียที มา Checklist กันหน่อย ปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเข่าเสื่อม”
“โรคธาลัสซีเมีย” มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่





ช่องยูทูป INTV Thai


Copyright © 2016 inTV co.,Ltd. All Rights Reserved ติดต่อโฆษณา โทร.081-927-2471 และ 02-733-8791-3